กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณเบต้าแคโรทีน ไลโคพีน และฟลาโวนอยด์ ของมะม่วงรับประทานดิบสายพันธุ์พื้นบ้านในประเทศไทยหลังการเก็บเกี่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในประเทศไทยสามารถปลูกมะม่วงได้ตลอดทั้งปี ซึ่งมะม่วงที่เพาะปลูกมีทั้งที่เป็นมะม่วงรับประทานดิบและรับประทานสุก สำหรับมะม่วงรับประทานสุกเท่านั้นเป็นที่นิยมและสามารถจำหน่ายในตลาดต่างประเทศได้ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามะม่วงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงในมะม่วงรับประทานสุก สำหรับมะม่วงรับประทานดิบเป็นที่นิยมรับประทานในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย แต่ยังขาดข้อมูลทางด้านสุขภาพ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถส่งเสริมให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญในการรับประทานมะม่วงรับประทานดิบมากขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณเบต้าแคโรทีน ไลโคพีน และฟลาโวนอยด์ของมะม่วงรับประทานดิบสายพันธุ์พื้นบ้านของประเทศไทยหลังการเก็บเกี่ยว โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ FRAP ปริมาณเบต้าแคโรทีน ไลโคพีน และฟลาโวนอยด์ โดยวิธี HPLC จากผลการทดลองพบว่าปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ FRAP ของมะม่วงทั้ง 13 สายพันธุ์ มีค่าระหว่าง 121.99 – 641.75 มิลลิกรัม Gallic acid/ 100 กรัม น้ำหนักสด มี 0.35 – 1.25 มิลลิโมล Trolox/100 กรัม น้ำหนักสด และมี 0.03 – 0.17 มิลลิโมล Trolox/100 กรัม น้ำหนักสด ตามลำดับ และมีค่าแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในแต่ละสายพันธุ์ สำหรับปริมาณเบต้าแคโรทีน พบว่าในมะม่วงทั้ง 13 สายพันธุ์ มีค่าระหว่าง 5.53 – 41.68 ไมโครกรัม/100 กรัม น้ำหนักสด โดยมะม่วงสายพันธุ์ทองดำมีปริมาณเบต้าแคโรทีนมากที่สุด เท่ากับ 42.43 ไมโครกรัม/100 กรัม น้ำหนักสด สำหรับปริมาณไลโคพีน มีปริมาณระหว่าง 0.11 – 0.23 มิลลิกรัม/100 กรัม น้ำหนักสด และพบว่ามีมะม่วงเพียง 5 สายพันธุ์ ที่มีสารไลโคพีน คือ แก้ว มหาชนก น้ำดอกไม้ ทองดำ และพิมเสน สำหรับปริมาณฟลาโวนอยด์ในมะม่วงรับประทานผลดิบทั้ง 13 สายพันธุ์ มีค่าอยู่ในช่วง 24.97 – 172.38 มิลลิกรัม/100 กรัม น้ำหนักสด โดยมะม่วงสายพันธุ์ “โชคอนันต์” มีปริมาณ ฟลาโวนอยด์ในเนื้อผลมากที่สุด เท่ากับ 172.38 มิลลิกรัม/100 กรัม น้ำหนักสด
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [ปรับปรุงเมื่อ 7 ม.ค. 2551; เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 2555]. จาก: https://nutrition.anamai.moph.go.th.07.01.08.
[3] Bafna PA, Balaraman R. Antioxidant activity of DHC-1, an herbal formulation, in experimentally-induced cardiac and renal damage. Phytother Res. 2005; 19:216-221.
[4] Pino JA, Mesa J, Munoz Y, et al. Volatile components from mango (Mangifera indica L.) cultivars. J. Agric. Food Chem. 2005; 53:2213-2223.
[5] Septembre-Malaterre A, Stanislas G, Douraguia E, et al. Evaluation of nutritional and antioxidant properties of the tropical fruits banana, litchi, mango, papaya, passion fruit and pineapple cultivated in Réunion French Island. Food Chem. 2016; 212:225-233.
[6] Ribeiro SMR, Schieber A. Chapter 34-Bioactive compounds in mango (Mangifera indica L.). Bioactive Foods in Promoting Health. Fruits and Vegetables. Oxford: Elsevier; 2010. P.507-23.
[7] Berardini N, Fezer ., Conrad J, et al. Screening of mange (Mangifera indica L.) cultivars for their contents of flavonol O- and xanthone C-glycosided, anthocyanings and pectin. J Agr Food Chem. 2005; 53:1563-1570.
[8] Kim Y, Brecht JK, Talcott ST. Antioxidant phytochemical and fruit quality changes in mango (Mangifera indica L.) following hot water immersion and controlled atmosphere storage. Food Chem. 2007; 105(4):1327-1334.
[9] Ma X, Wu H, liu L, et al. Polyphenolic compounds and antioxidant properties in mango fruits. Sci. Hort. 2011; 129:102-107.
[10] Sogi DS, Siddiq M, Greiby I, et al. Total phenolics, antioxidant activity, and functional properties of ‘Tommy Atkins’ mango peel and kernel as affected by drying methods. Food Chem. 2013; 141:2649-2655.
[11] Sogi DS, Siddiq M, Dolan KD. Total phenolics, carotenoids and antioxidant properties of Tommy Atkin mango cubes as affected by drying techniques. LWT-Food Sci Technol. 2015; 62:564-568.
[12] Speek AJ, Schrijver J, Schreurs WHP. Vitamin E composition of some seed oils as determined by high-performance liquid chromatography with fluorometric detection. J Food Sci. 1985; 50:121–124.
[13] Junka N, Wongs-Aree C, Kanlayanarat S. Predominance of cyanidin found in flower from two species of Aerides orchid. Acta Hort. 2007; 755:549–556.
[14] Wang CY, Chen CT, Wang SY. Changes of flavonoid content and antioxidant capacity in blueberries after illumination with UV-C. Food Chem. 2009; 117:426–431.
[15] Slinkard K, Singleton VL. Total phenol analyses: automation and comparison with manual methods. Am J Enol Vitic. 1977; 28:49-55.
[16] Devi KP, Suganthy N, Kesika P, et al. Bioprotective Properties of Seaweeds, Malays. J Nutr. 2008; 8(2):167-177.
[17] Benzie IF, Strain JJ. The ferric reducing ability of plasma (FRAP) as a measure of “antioxidant power”: the FRAP assay. Anal Biochem. 1996; 239:70-76.
[18] Rahman MM, Das R, Hoque MM, et al. Effect of freeze drying on antioxidant activity and phenolic content of mango (Mangifera indica). Int Food Res J. 2015; 22(2):613-617.
[19] Charoensiri R, Kongkachuichai R, Suknicom S, et al. Beta-carotene, lycopene, and alpha-tochopherol contents of selected Thai fruits. Food Chem. 2009; 113:202-207.
[20] Thaipong K, Boonprakob U, Crosby K, et al. Comparison of ABTS, DPPH, FRAP, and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava fruit extracts. J Food Comp Anal. 2006; 19:669–667.
[21] Wangcharoen W, Morasuk W. Antioxidant capacity and phenolic content of some Thai culinary plants. Maejo Int J Sci Technol. 2007; 1(2):100-106.
[22] Hodzic Z, Pasalic H, Memisevic A, et al. The influence of total phenols content on antioxidant capacity in the whole grain extracts. Eur J Sci Res. 2009; 28(3):471-477.