การพัฒนาเตาประหยัดพลังงานสำหรับชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเตาประหยัดพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติ เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนเชื้อเพลิง และเพื่อนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีขั้นตอน การดำเนินงานประกอบด้วย การออกแบบและสร้างเตาประหยัดพลังงานจากการศึกษาเตาชีวมวลในชุมชน คือ เตาทำขนมจีน ทดสอบสมรรถนะของเชื้อเพลิง คือ แกลบข้าว ขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา โดยเตาประหยัดพลังงานเป็นเตาแบบอากาศไหลขึ้น ตัวเตาเป็นแบบปูนหล่อมีอัตราส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ : ทรายหยาบ : หิน จำนวน 5 สูตรคือ สูตร A (3 : 1 : 3), สูตร B (2 : 2 : 3) สูตร C (2 : 3 : 2), สูตร D (3 : 2 : 2) และ สูตร E (3 : 3 : 1) และขึ้นรูปวัสดุฉาบภายในเตา มีอัตราส่วนระหว่าง ดินเหนียว : ขี้เถ้าแกลบ จำนวน 3 สูตร คือ สูตร F (1 : 1) สูตร G (2 : 1) และสูตร H (1 : 2) นำมาทดสอบการทนความร้อน พบว่า การขึ้นรูปตัวเตา สูตร B สามารถทนความร้อนสูงที่สุด ที่ อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และสำหรับการขึ้นรูปวัสดุฉาบภายในห้องเผาไหม้สามารถทนความร้อน ทั้ง 3 สูตร ที่ อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และจากการผลิตเตาประหยัดพลังงานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.20 เมตร สูง 0.70 เมตร ปริมาตรของห้องเผาไหม้ 0.10 ลูกบาศก์เมตร มีค่าประสิทธิภาพเตาเฉลี่ย คิดเป็น 39.82% ซึ่งมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเตาชีวมวลชุมชนที่มีค่าเป็น 40.82%
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
74.
[2] ธนากร หอมจำปา, คมสันต์ ทองปัญญา, ณัฐพร กรรมพระอินทร์, แสงเทียน กุหลาบ และประพันธ์พงษ์ สมศิลา. การศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาชีวมวลสำหรับครัวเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2557; 7(2):103 – 10.
[3] สมภักดิ์ ถึงปัดชา. การพัฒนาเตาชีวมวลโดยใช้เถ้าแกลบปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 1. วิทยานิพนธ์หมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2558.
[4] Annual Book of ASTM Standard. Standard Test Method for Moisture in Activated Carbon D2867-95. 15.01. 709-711. United State of America; 1998
[5] Annual Book of ASTM Standard. Standard Test Method for Total Ash Content of Activated Carbon D2866-94. 15.01. 707-708. United State of America; 1998.
[6] Annual Book of ASTM Standard. Standard Test Method for Total Volatile Matter Content of Activated Carbon Sample D5832-95. 15.01. 782. United State of America; 1998.
[7] McGill KC., Yasechko, ML., Nkari WK. Determinaton of Calories in Food Via Adiabatic Bomb Calorimeter. The Corinthian, Vol. 6, Article 9; 2004.
[8] พงศ์พน วรสุนทโรสถ และวรพงศ์ วรสุนทโรสถ. วัสดุก่อสร้า. ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ; 2544. หน้า 86.
[9] สาโจน์ ขาวดี. การศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางกายภาของอิฐทนไฟโดยใช้ทรายชัยนาทเป็นวัตถุดิบหลัก. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; กรุงเทพมหานคร; 2544.