การศึกษาวิธีการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากขี้เลื่อยไม้ยางพารากับมูลสัตว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากขี้เลื่อยของไม้ยางพารากับมูลสัตว์เป็นการศึกษาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและของเสียปศุสัตว์ของชุมชน เพื่อเป็นการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับมูลสัตว์ในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง ศึกษาสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางด้านเชื้อเพลิงของมูลสัตว์ 3 ชนิด คือ มูลวัว มูลกระบือ และมูลแพะ นำมาวัตถุดิบมาอัดขึ้นรูป โดยมีแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน ในอัตราส่วนผสมระหว่าง ขี้เลื่อยไม้ยางพารา : มูลสัตว์ : แป้งมันสำปะหลัง จำนวน 10 สูตร พบว่า สมบัติทางกายภาพในด้านความชื้น ปริมาณเถ้า สารระเหย คาร์บอนคงตัว ความหนาแน่นและค่าความร้อน มีค่าอยู่ในช่วง 2.81 - 4.89%, 1.94 - 22.00%, 55.42 - 93.60%, 11.15 - 71.48%, 1.15 – 1.51 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 3,294.29 – 3,884.48 แคลอรี่ต่อกรัม ตามลำดับ ระยะเวลาในการติดไฟของเชื้อเพลิง อยู่ในช่วง 6.28 – 11.70 นาที เวลาเผาไหม้ อยู่ในช่วง 40.90 – 82.89 นาที และมีอัตราการเผาไหม้ อยู่ ในช่วง 1.17 – 1.80 กรัมต่อนาที และผลของการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 109 วัน โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของโครงการที่สำคัญ คือ ราคาเครื่องจักร จำนวนเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ และจำนวนวันที่ผลิต
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] ศิริชัย ต่อสกุล, กุณฑล ทองศรี และ จงกล สุภารัตน์. การพัฒนาถ่านอัดแท่งจากกากมะพร้าวเป็นพลังงานทดแทน,. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ.2555; 17 – 19 ตุลาคม 2555; ชะอำ; เพชรบุรี; 2555 หน้า. 1381 – 6.
[3] รุ่งโรจน์ พุทธีสกุล, อุปวิทย์ สุวคันธกุล และอัมพร กุญชรรัตน์. การผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านกะลามะพร้าวและถ่านเหง้า มันสำปะหลัง. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา 2553 ; 4(2):18 – 28.
[4] ธนาพล ตันติสัตยกุล, กะชามาศ สายดำ, สุจิตรา ภูส่งสี และศิวพร เงินเรืองโรจน์. การศึกษาความเหมาะสมการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากเปลือกสับปะรด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558 ; 23(5): 754 – 73.
[5] ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ, ณรงค์ศักดิ์ ลาปัน, วิภาวดี ชัชวาลย์ และอานันท์ ธัญญเจริญ. การพัฒนาก้อนเชื้อเพลิงชีวมวลจากเศษ ฟางข้าวผสมเศษลำไยเหลือใช้. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2559 ; 39(2):239 – 55.
[6] ลักษมี สุทธิวิไลรัตน์, ประภัสสร ภาคอรรถ และขวัญรพี สิทตรีสอาด. การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษวัสดุชีวมวล. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้. กรมป่าไม้.
[7] Annual Book of ASTM Standard. Standard Test Method for Moisture in Activated Carbon D2867-95. 15.01. 709-711. United State of America ; 1998.
[8] Annual Book of ASTM Standard. Standard Test Method for Total Ash Content of Activated Carbon D2866-94. 15.01. 707-708. United State of America ; 1998.
[9] Annual Book of ASTM Standard. Standard Test Method for Total Volatile Matter Content of Activated Carbon Sample D5832-95. 15.01. 782. United State of America; 1998.
[10] McGill, Kenneth C., Yasechko, Michelle L., Nkari and Wendy K. Determination of Calories in Food Via Adiabatic Bomb Calorimeter. The Corinthian; Vol. 6, Article 9; 2004.
[11] กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม; 2551.
[12] อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย, ชลันดา เสมสายันห์, นัฐพร ประภักดี, ณัฐธิดา เปี่ยมสุวรรณศิริ และนิภาวรรณ ชูชาติ. การนำเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดมาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49; 2554หน้า 162-8.
[13] ธนาพล ตันติสัตยกุล, สุริฉาย พงษ์เกษม, ปรีย์ปวีณ ภูหญ้า และภานุวัฒน์ ไถ้บ้านกวย. พลังงานทดแทนชุมชนจากเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากทางมะพร้าว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558 ; 23(3) : 418-31.