องค์ประกอบของฝุ่นละอองในอากาศบนถนนทะเลหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาองค์ประกอบของฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศบนถนนทะเลหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยทำการเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองในอากาศด้วยการกรองอากาศไหลผ่านกระดาษกรอง และ ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของฝุ่นละอองด้วยเทคนิคการทำแผนภาพการกระจายตัวของธาตุ (Elemental Mapping Analysis) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (SEM) และวิเคราะห์องค์ประกอบของฝุ่นละอองด้วยเทคนิค Electron Microanalysis – Qualitative Analysis พบว่าขนาดของฝุ่นละอองที่ตรวจจับได้มีขนาดน้อยกว่า 10 ไมโครเมตร PM10 และองค์ประกอบของฝุ่นละอองประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg) อะลูมิเนียม (Al) ซิลิกอน (Si) ซัลเฟอร์ (S) คลอไรด์(Cl) โพแทสเซียม (K ) แคลเซียม (Ca) ติตาเนียม (Ti) และเหล็ก (Fe ) โดยปริมาณของฝุ่นละอองที่ตรวจับได้มีค่าอยู่ระหว่าง 7.72-108.02 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ระดับ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและไม่มีผลต่อสุขภาพ จากองค์ประกอบของฝุ่นละอองที่ตรวจพบนั้นส่วนหนึ่งมาจากฝุ่นละอองจากไอน้ำทะเล การขนส่ง และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ตลอดจนการเบรครถซึ่งทำให้เกิดฝุ่นเหล็กและแมกานีสที่ปะปนอยู่ในอากาศได้ ดังนั้นการวิเคราะห์องค์ประกอบของฝุ่นละอองด้วยเทคนิคนี้สามารถระบุชนิดของธาตุได้
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Hong YC., Lee JT., Kim H., Ha EH., Schwartz J. and Christiani DC. Effect of air pollution on acute stroke mortality. Environ. Health. Pers. 2002; 110:187 – 191.
[3] Huang L., Yaun CS., Wang G. and Wang K. Chemical characteristics and source apportionment of PM10 during a brown haze episode in Harbin, China. Particuol. 2002; 9:32 – 38.
[4] สว่าง แสงหิรัญวัฒนา, นันทวิทย์ บุญเทศ และ กุลณี วงศ์วิวัฒน์. ความเสื่อมสมรรถภาพของปอดในตำรวจจราจรในกรุงเทพมหานคร. รามาธิบดีเวชสาร. 2538; 18: 44-46.
[5] Yakin S. and Bayran A. Source apportionment of PM10 and PM2.5 using positive matrix factorization and chemical mass balance Izmir, Turkey. Sci. Total Environ. 2008; 309: 109 – 123.
[6] Cheng YH., Chang HP. and Hsieh CJ. Short – term exposure to PM10 , PM2.5 ultrafine particle and CO2 for passenger at an intercity bus terminal. Atmos. Environ. 2011; 45: 2034 - 2042.
[7] Charlesworth S., De Miguel E. and Ordonez A. A review of the distribution of particulate trace element in urban terrestrial environments and its application to consideration of risk. Environ. Geochem. Health. 2011; 33(2): 103-123.
[8] De Miguel E., Iribarren I., Chacon E., Ordonez A. and Charlesworth S. 2007. Risk-based evaluation of exposure of children to trace element in playgrounds in Madrid(Spain). Chemos. 2007; 66: 505-513.
[9] Ferguson JE. and Kim N. Trace element in street and house dusts source and speciation. Sci. Total Environ. 1991; 100: 125- 150.
[10] Moreno T., Karanasiou A., Amato F., et.al. Daily and hourly sourcing of metallic and mineral dust in urban air contaminated by traffic and coal-burning emission. Atmos. Environ. 2013; 68: 33-44.
[11] Li X. and Liu PS. Heavy mental contamination of urban soil in street dusts in Hong Kong. Appl. Geochem. 2001; 16: 1361-1368.
[12] Okorie A., Entwistle J. and Dean JR. Estimation of daily intake of potentially toxic element from urban street dust and the role of oral bioaccessibilityn testing. Chemos. 2012; 86: 460-467.
[13] ส่วนควบคุมคุณภาพอากาศ สำนักงานการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ, 2546.
[14] Sehyun H., Jong-Sang Y. and Yong-Won J. Characterization of PM10 and PM2.5 source profiles for resuspended road dust collected using mobile sampling methodology. Atmos. Environ. 2011; 45: 3343-3351.
[15] Srimuruganandam B. and Shiva Nagendra, S. M. Source characterization of PM10 and PM2.5 mass using a chemical mass balance model at urban roadside. Sci. Total Environ. 2012; 433: 8-19.