การศึกษาการขจัดคราบเลือดโดยใช้ผักโขม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสะอาดเป็นสุขอนามัยพื้นฐานสำหรับมนุษย์ ปัจจุบันมีการคิดค้นสารเคมีเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปมักพบปัญหาความสะอาดเกี่ยวกับคราบเปื้อนฝังแน่นบนเสื้อผ้า โดยคราบเปื้อนที่พบบ่อยและขจัดได้ยาก คือ คราบเปื้อนของเลือด และน้ำยาขจัดคราบเลือดส่วนมาก ก็มีส่วนประกอบหลักคือสารเคมี ที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวได้ ดังนั้น น้ำยาขจัดคราบเลือดที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ผู้วิจัยจึงนำสารสกัดจากผักโขม และผักโขมฝรั่งหรือปวยเล้ง มาทดลองเป็นน้ำยาขจัดคราบเลือด เนื่องจากในผักโขมมีสารออกซาเลตในปริมาณมาก ซึ่งสารออกซาเลตจะสามารถจับกับธาตุโลหะจนตกตะกอน ช่วยให้คราบเลือดที่ฝังแน่นถูกกำจัดได้ง่ายขึ้น โดยทดลองกับ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มแรกใช้น้ำสกัดจากผักโขมสด กลุ่มที่ 2 ใช้น้ำสกัดจากผักโขมต้ม โดยอัตราส่วนของผักโขม : น้ำเปล่า เท่ากับ 1 กก. : 600 มล. ในแต่ละกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งกลุ่มควบคุม ทำการทดลอง 3 ซ้ำ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของน้ำสกัดผักโขม โดยทดสอบการขจัดคราบเลือดหมู 100 มล. ที่ทาลงบนผ้าขาวบาง และทิ้งให้แห้งเป็นเวลา 1 วัน ผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากผักโขมจากทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง สามารถขจัดคราบเลือดได้สะอาดกว่าการใช้น้ำเปล่า
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] ผักโขมกับคุณค่าอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: เอฟแอนด์เอ็น; [เข้าถึงเมื่อ 8 ต.ค. 2561]. จาก: https://www.fnthaidairies. com/index.php/food-application/114.
3] ผักโขม ปวยเล้ง สองคู่หูตระกูลผัก แล้วคุณจะรัก ถ้าได้รู้คุณประโยชน์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิต เซ็นเตอร์; [เข้าถึงเมื่อ 8 ต.ค. 2561]. จาก: https://health.kapook. com/view124852.html.
[4] Hesse A, Siener R. Current aspects of epidemiology and nutrition in urinary stone disease. World J Urol. 1997; 15: 165-71.
[5] Kitchen JW, Burns EE. The effect of maturity on the oxalate content of spinach (Spinacia oleraceae L.). J. Food Sci. 2006; 30: 589-93.
[6] Oscarsson KV, Savage GP. Composition and availability of soluble and insoluble oxalates in raw and cooked taro (Colocasia esculenta var. Schott) leaves. Food Chem. 2007; 101: 559-62.
[7] นฤมล ผิวเผื่อน. ผลึกแคลเซียมออกซาเลตและปริมาณออกซาเลตในพืชผักบางชนิดในจังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 2557; 42(4): 820-9.
[8] Ferrous oxalate [Internet]. USA.: PubChem; 2005 [cited 2018 Aug 8]. Available from: https://pubchem.ncbi. nlm.nih.gov/compound/ferrous_oxalate#section=Top.