ระบบบริหารงานโรงงานน้ำดื่ม กรณีศึกษา โรงงานเพชรน้ำทิพย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบบริหารงานโรงงานน้ำดื่มเพชรน้ำทิพย์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบจัดการข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ของโรงงาน ได้แก่ ข้อมูลทางด้านการบริหารงานบุคลากร ข้อมูลการลงเวลาทำงาน ข้อมูลการคิดค่าแรง และข้อมูลการบริหารจัดการสต๊อกน้ำดื่ม โดยทำการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสาร เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา ตรวจสอบข้อมูล ง่ายต่อการติดตามผล และนำข้อมูลมาสรุปรายงานเพื่อใช้ตัดสินใจสำหรับผู้บริหารต่อไป ทำให้โรงงานมีการบริหารงานที่มีคุณภาพ วิธีดำเนินงานพัฒนาและออกแบบระบบได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาขั้นตอนการทำงาน ระบบการบริหารงานโรงงานในรูปแบบเดิม เพื่อรวบรวมข้อมูลและความต้องการของระบบ แล้วนำมาออกแบบระบบฐานข้อมูลของระบบบริหารงานโรงงานน้ำดื่มใหม่ พัฒนาระบบงานใหม่ และทดสอบการทำงานของระบบทั้งหมด แล้วทำการประเมินผลการใช้งานระบบ
ผลที่ได้จากการทดสอบการทำงานของระบบใหม่ที่พัฒนา สามารถทำงานได้ตรงตามขอบเขตความต้องการ และยังอำนวยความสะดวกให้กับโรงงานน้ำดื่มเพชรน้ำทิพย์เป็นอย่างดีในการจัดเก็บ และจัดการฐานข้อมูลซึ่งช่วยให้การบริหารงานโรงงานมีประสิทธิภาพสูงสุด และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน จำนวน 30 คน ผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.38, S.D. = 0.35) และได้รับการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ผู้ชำนาญด้านไอที จำนวน 3 คน อยู่ในระดับดี ( = 4.17, S.D. = 0.37)
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] ปริญญา เพียรอุตส่าห์. ระบบตรวจสอบการลงเวลาปฏิบัติงาน ของบุคลากรสํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้. มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.
[3] อาจารี นาโค. การประยุกต์เครื่องอ่านลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 ฉบับพิเศษ 2556.
[4] อรอนงค์ อิสระนรากุล และชุติมา เบี้ยวไข่มุก. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการลงเวลาปฏิบัติงานของบุคลากรด้วยการสแกน ลายนิ้วมือกับระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานของบุคลากร แบบเซ็นชื่อ กรณีศึกษา โรงเรียนระแงะ อำเภอระแงะ จังหวัด นราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2014; 1(2)
[5] Hermann Gruenwald, E-Waste and Sustainable Supply Chain A Thai Reverse Logistics Perspective. วารสารวิจัยฉบับพิเศษ UTK ราชมงคลกรุงเทพฯ. Vol 9 Special issue for CreTech 2015; 9:21-8