การพัฒนาเครื่องตัดใบข้าวเพื่อลดการสั่นสะเทือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดขับเคลื่อนใบมีดตัดของเครื่องตัดใบข้าว เพื่อลดการสั่นสะเทือนโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มาช่วยในการวิเคราะห์ความแข็งแรง ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า ค่าการเสียรูปทรงมีค่าสูงสุด 0.13762 mm ถือว่าน้อยมาก และเมื่อเปรียบเทียบการขับเคลื่อนด้วยโซ่ กับการขับเคลื่อนด้วยสายพานและเครื่องตัดหญ้า โดยตัดใบข้าวพื้นที่ 400 m2 ผลการสั่นสะเทือนในแนวแกนนอนที่ความเร็วรอบ 350 rpm เมื่อขับเคลื่อนด้วยโซ่มีค่าการสั่นสะเทือน 4.75 mm และเมื่อขับเคลื่อนด้วยสายพานมีค่าการสั่นสะเทือน 5.61 mm ค่าการสั่นสะเทือนเมื่อขับเคลื่อนด้วยโซ่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับขับเคลื่อนด้วยสายพาน 15.33% และเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องตัดหญ้าค่าการสั่นสะเทือนมีค่าลดลง 7.44 % และผลการสั่นสะเทือนในแนวแกนตั้งที่ความเร็วรอบ 350 rpm เมื่อขับเคลื่อนด้วยโซ่มีค่าการสั่นสะเทือน 4.32 mm และค่าการสั่นสะเทือนเมื่อขับเคลื่อนด้วยสายพานมีค่า 6.86 mm โดยค่าการสั่นสะเทือนเมื่อขับเคลื่อนด้วยโซ่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับขับเคลื่อนด้วยสายพานคิดเป็น 37.03 % และเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องตัดหญ้ามีค่าลดลง 19.40% ช่วยลดเวลาการทำงานลงได้ 30.90 นาที/ไร่ และสามารถลดต้นทุนในการทำนาได้ 640 บาท/ไร่
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Abdalla A., Misra AN. and El- Azeem K. M. Salem. Effect of leaf cutting on physiological traits and yield of two rice cultivars. African Journal of Plant Science 2008; 12(2):147-50.
[3] Konboon Y., Sripodok S. and Rattannasriwong S. Rice leaf cutting in Dry-seed broadcastingrice. Proceeding of Rice and temperate cereal crops annual conference, Bankok (Thailand), 2007;112-118.
[4] Baerdemaeker DJ., Saeys W. Advanced Control of Combine Harvesters. KU Leuven, Department of Biosystems, Division MeBioS Kasteelpark Arenberg 30. B3001 Heverlee, Belgium; 2014.
[5] Somchai C. Development of a Cutter Bar Driver for Reduction of Vibration for a Rice Combine Harvester. KKU Research Journal 2010; 15 (7):572-80
[6] Inoue E., Fukushima T., Hirai Y., Mitsuoka M., Marutani I., Mori K., and Jinyama H. Wavelet analysis of the vibration acceleration for field machines. Sci. Bull. Fac. Agr. Kyushu Univ 2003; 57(2):169-76.
[7] Takashi F., Eiji I., Muneshi M., Takashi O., and Sato K. Vibration Characteristics and Modeling of Knife Driving System of Combine Harvester (Part 1). Journal of JSAM 2006; 68 (5):52-5
[8] Takashi F., Eiji I., Muneshi M., Takashi O. and Kunio S. Collision Vibration Characteristics with Interspace in Knife Driving System of Combine Harvester. EAEF 2012; 5(3):115-120.
[9] Inoue E., Marutani I., Mitsuoka M., Hirai Y., Matsui M., Mori K., Takase A. and Fukushima T. Mechanical model on the driving mechanism of combine's cutting section and verification. Journal of JSAM 2004; 66(2):61-67.
[10] Inoue E. Time series analysis of acceleration of cutting section of japanese combines (in Japanese). Journal of Kyushu Branch of JSAM 2001; 50:31-36
[11] Chinsuwan W., Pongjan N., Chuan-Udom S. and Phayom W. Effects of Reel Index on Gathering Loss of Rice Combine Harvester. Thai Society of Agricultural Engineering Journal 2004; 11(1):7-9.
[12] กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. ต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนา [21 มกราคม 2016 ; สืบค้น 10 กรกฎาคม 2018]. เข้าถึงได้จาก https://www.thairiceinfo.go.th