การออกแบบเสริมผิวทางแบบยืดหยุ่นที่ได้จากเครื่องมือ Benkelman Beam
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบเสริมผิวทางแบบยืดหยุ่นที่ได้จากเครื่องมือ Benkelman beam (BB) โดยการหาค่าการแอ่นตัวของผิวทาง ค่าความหนาเสริมผิวทาง และสมบัติการใช้งานของผิวทางที่ได้จากการวัดโดยเครื่องมือ Benkelman beam (BB) ซึ่งในการศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลการแอ่นตัวที่ผิวทางภายใต้น้ำหนักกระทำของโครงสร้างทางที่ได้เปิดการจราจรแล้วเฉพาะผิวทางชนิดแอสฟัลต์คอนกรีต โดยศึกษาในด้านส่วนประกอบของโครงสร้างทาง สภาพของผิวทางที่ปรากฏ อายุการใช้งานและสภาพของโครงสร้างชั้นทาง โดยทำการศึกษาในพื้นที่ภาคกลางทั้งหมด 10 สายทาง แบ่งเป็น 27 ช่วงทดลอง ช่วงทดลองละ 2 กิโลเมตร โดยมีการจัดแยกกลุ่ม Test section ตามปริมาณการจราจร ความหนาของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตและอายุการให้บริการ โดยวัดค่าการแอ่นตัวของผิวทางภายใต้น้ำหนักกระทำเป็นการเก็บข้อมูลค่าการแอ่นตัว ความหนาและประเภทวัสดุชั้นต่าง ๆ ของโครงสร้างทาง อุณหภูมิ ขนาดของร่องล้อ เปอร์เซ็นต์ การแตกร้าว และปริมาณการจราจร ซึ่งสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บมาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ Benkelman beam ใช้วิธีมาตรฐานของกรมทางหลวง (DOH standard) และนำค่าที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์มาสร้างความสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรมทางสถิติช่วยในการหาความสัมพันธ์และค่าทางสถิติ ดังนั้นสำหรับผิวทางแบบยืดหยุ่นที่ใช้ในการศึกษาพบว่าการใช้วิธี Benkelman beam ออกแบบเสริมผิวทางจะช่วยให้ได้ค่าการแอ่นตัวและค่าความหนาเสริมผิวทางมีการกระจายตัวและค่าผิดพลาดมาตรฐานน้อยลง ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น เพื่อให้ถนนมีคุณภาพที่ดีขึ้น ลดการเสียหาย ช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลซ่อมแซมถนนของประเทศลงได้
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] ธรรมมา เจียรธราวานิช. การเปรียบเทียบการออกแบบเสริมผิวทางแบบยืดหยุ่นที่ได้จากเครื่องมือ Benkelman Beam และ Falling Weight Deflectometer. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
[3] Atkins HN. Highway Materials , Soils and Concretes. 3rd ed. U.S.A.: APrentice-Hall; 1997.
[4] Canadian Good Road Association, (CGRA). A Guide for the Structural Design of Flexible and Rigid Pavement in Canada. Canada: 1965.
[5] Huang YH. Pavement Analysis and Design. 1st ed. U.S.A.: A Prentice-Hall; 1993.
[6] The Asphalt Institute. Asphalt Overlay and Pavement Rehabilitation (MS-17). U.S.A.: College Park, Md.; 1969.
[7] Ullidtz P. Pavement Analysis. 1st ed. Denmark.: Polyteknisk Forlag; 1987.