การพัฒนากระบวนการผลิตหลังคาด้วยวัสดุธรรมชาติคอมโพสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและสร้างแม่พิมพ์กดอัดขึ้นรูปแผ่นมุงหลังคาที่ทำจากวัสดุธรรมชาติคอมโพสิต ซึ่งจะใช้สว่นผสม 2 กลุ่ม คือ ขี้เลื่อยไม้ผสมขี้ชัน ทาเคลือบด้วยโพลียูรเี ทน และขี้เล่อื ยไม้ผสมแกลบหยาบผสมขี้ชัน ทาเคลือบด้วยโพลียูรีเทน โดยทดสอบหาส่วนผสมที่สามารถนำไปกดอัดขึ้นรูปได้ดี คือใช้ขี้เลื่อยไม้ 307 กรัม ขี้ชัน 300 กรัม เป็นส่วนผสมกลุ่มที่ 1 และใช้ขี้เลื่อยไม้ 290 กรัม แกลบหยาบ 17 กรัม ขี้ชัน 300 กรัม เป็นส่วนผสมกลุ่มที่ 2 นำส่วนผสมไปกดอัดขึ้นรูปในชุดแม่พิมพ์ ได้ชิ้นงานแผ่นมุงหลังคาจากวัสดุธรรมชาติคอมโพสิตและทาเคลือบด้วยโพลียูรีเทน การทดสอบสมบัติของแผ่นมุงหลังคาโดยเทียบเคียงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องดินเผามุงหลังคา มาตรฐานเลขที่ มอก.158–2518 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ผลการทดสอบดังนี้ การตรวจสอบขนาดของแผ่นมุงหลังคาอยู่ในพิกัดที่มาตรฐานกำหนด ทดสอบการซึมน้ำของแผ่นมุงหลังคาอยู่ในพิกัดที่มาตรฐานกำหนด และทดสอบการต้านแรงทางขวางของแผ่นมุงหลังคา ในส่วนผสมกลุ่มที่ 1 ไม่อยู่ในพิกัดที่มาตรฐานกำหนด ในส่วนผสมกลุ่มที่ 2 อยู่ในพิกัดที่มาตรฐานกำหนด ดังนั้นส่วนผสมกลุ่มที่ 2 มีความเหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาผลิตแผ่นมุงหลังคาจากวัสดุธรรมชาติคอมโพสิตต่อไป
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ และแววบุญ แย้มแสงสังข์. การผลิตหลังคายางพาราจากวัสดุผสมยางธรรมชาติกับขี้เลื่อยไม้. บัณฑิตวิทยาลัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2553.
[3] เถลิงเกียรติ เขตบุญพร้อม สันติสุข บุญน้อย พิจิตรา สุจริต. โครงการหลังคาจากยางพารา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงค ธัญบุรี. 2553.
[4] เชษฐ อุทธิยัง วัชรินทร์ สิทธิเจริญ นทีชัย ผัสดี. การศึกษาเพื่อขึ้นรูปหลังคาทำ จากวัสดุธรรมชาติคอมโพสิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ. 2555.
[5] จุลศิริ ศรีงามผ่อง. วิศวกรรมแม่พิมพ์ขึ้นรูป โลหะแผ่นเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต; 2541.
[6] มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กระเบื้องดินเผามุงหลังคามาตรฐานเลขที่ มอก.158–2518. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม; 2518.
[7] Darsana P, Ruby Abraham, Anu Joseph., Development of Coir-Fibre Cement Composite Roofing Tiles. Procedia Technology (2016); 24: 169-178.