ผลของไม้ไผ่เสริมตามขวางต่อแรงอัดแตกของท่อคอนกรีตเสริมไม้ไผ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกำลังอัดของคอนกรีตและจำนวนไม้ไผ่เสริมตามขวางต่อแรงอัดแตกของท่อคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ท่อคอนกรีตที่ศึกษามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. ตามมาตรฐาน มอก.128-2549 ชั้นคุณภาพที่ 3 กำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ในการศึกษาเท่ากับ 250 และ 300 กก./ตร.ซม. จากผลการทดสอบพบว่าท่อคอนกรีตที่ใช้กำลังอัดเท่ากับ 250 กก./ตร.ซม. เสริมไม้ไผ่ที่เสริมไม้ไผ่ตามขวางจำนวน 6, 7และ 8 เส้น มีค่าแรงอัดแตกเท่ากับ 4,908 5,090 และ 5,271 กก. ตามลำดับ และผลการทดสอบท่อที่ใช้กำลังอัดของคอนกรีตเท่ากับ 300 กก./ตร.ซม. ใช้ไม้ไผ่ตามขวางจำนวน 4, 5 และ 6 เส้น มีแรงอัดแตกเท่ากับ 5,1415,193 และ 5,374 กก. ตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่าท่อคอนกรีตทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์แรงอัดแตกตามมาตรฐานอุตสาหกรรมท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก มอก.128-2549 ขนาดท่อ 40 ซม. ชั้นคุณภาพ คสล.3 ซึ่งกำหนดว่าต้องมีแรงอัดแตกของท่อคอนกรีตไม่น้อยกว่า 2,650 กก. จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า แรงอัดแตกของท่อคอนกรีตเพิ่มขึ้นตามจำนวนไม้ไผ่ตามขวางและกำลังอัดของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้น
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Wang, F., Shao, J., Keer, L.M., Li, L., Zhang, J. The effect of elementary fibre variability on bamboo fibre strength, Materials & Design Vol.75, (2015), 136–142.
[3] Ghavami, K. Bamboo as Reinforcement in Structural Concrete Elements, Cement & Concrete Composites. Vol.27,
(2004), 637-649.
[4] Ghavami, K. Ultimate Load Behavior of Bamboo - Reinforced Lightweight Concrete Beams, Cement & Concrete Composites, Vol.17, (1995), 281-288.
[5] Khare, L. Performance evaluation of bamboo reinforced concrete beams. Master Thesis, University of Texas at Arlington, Arlington, USA, 2005.
[6] Intarangsi, A. and Kasemset, C. Bambooreinforced concrete pavement. Final report, Chiang Mai University, Thailand, 1993.
[7] วินิต ช่อวิเชียร กำ ลังรับน้ำ หนักของเสา คอนกรีตเสริมไม้ไผ่ วารสารวิศวกรรมสาร (5) 35, (2525), 41-45
[8] อุดม ฉัตรศิริกุล พฤติกรรมของแผ่นพื้นตง คอนกรีตเสริมด้วยไม้ไผ่ที่อาบด้วยฟลินท์โคทวิทยานิพนธ์ปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553
[9] Adhikari, R.C., Wood, D.H. and Sudak L. Low-cost bamboo lattice towers for small wind turbines, Energy for Sustainable Development, Vol.28, (2015), 21-28