การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียน

Main Article Content

นนทลี พรธาดาวิทย์

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้Active Learning ที่มีต่อนักศึกษาในวิชาการจัดการเรียนรู้ และศึกษาคุณลักษณะผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการจัดการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ใช้วิธีการสุ่มแบบทั้งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม นักศึกษาจำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบการสอนแบบมโนทัศน์ รูปแบบการสอนแบบอุปนัย รูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก การอภิปรายกลุ่ม กรณีศึกษา เกม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการเรียนรู้โดยใช้วีดิโอเป็นฐาน ในวิชาการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 สัปดาห์ บันทึกถึงผู้สอน และแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94


ผลการวิจัยพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในวิชาการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม พบว่า กิจกรรมที่ผู้สอนจัดให้กับนักศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก โดยนักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าผลที่นักศึกษาได้รับมากที่สุด คือ กิจกรรมที่ผู้สอนจัดส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน รองลงมาคือ ช่วยพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม นักศึกษาสามารถนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในการฝึกสอนได้ในอนาคต ฝึกการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนคุณลักษณะผู้สอนนักศึกษามีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ ผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการสอนมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้สอนมีความพร้อมในการสอน ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. 2555.

[2] นนทลี พรธาดาวิทย์ การจัดการเรียนรู้แบบ.Active Learning. ก รุง เ ท พ ฯ : ท ริป เ พิ้ลเอ็ดดูเคชั่น. 2559.

[3] สำนักกองทุนส่งเสริมสุขภาพ. พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไรในยุค Gen Z. [เว็บไซด์]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 4 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaihealth.or.th/Content/25728%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%20%E0%B9%83%E0%B8%99%20%E2%80%98%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%20Gen%20Z%
E2%80%99.html

[4] Bean, J. C. Engaging Ideas: The Professor's Guide to Integrating Writing, Critical Thinking and Active Learning in the Classroom. (2ed.). San Francisco: Jossey-Bass. 2011.

[5] Bonwell, C. and Eison, J. Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Clearinghouse on Higher Education Washington DC, ERIC Identifier: ED340272. 1991.

[6] Morable, L. Using Active Learning Techniques. Department of Education, the Texas Higher Education Coordinating
Board and Richland College. 2000.