การปรับปรุงแม่พิมพ์เพื่อลดการใช้พลังงานในกระบวนการขึ้นรูปฝาครอบหม้อน้ำเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์

Main Article Content

สัญญา คำจริง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแม่พิมพ์เดี่ยวสำหรับขึ้นรูปชิ้นส่วนฝาครอบหม้อน้ำเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์วัสดุอลูมิเนียมเกรด AA 6061 เพื่อลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต โดยแบ่งกระบวนการผลิตออกเป็น 2 ส่วน คือ กระบวนการผลิตแผ่นด้วย แม่พิมพ์แบลงก์และกระบวนการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ขึ้นรูป ในการดำเนินการปรับปรุงการออกแบบ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และประเมินผลตามลำดับ จากนั้นได้ทำการทดสอบแม่พิมพ์เพื่อค้นหาจุดบกพร่องตลอดจนปรับแก้ไขในตำแหน่งที่เป็นสาเหตุความเสียหาย และได้ทำการทดสอบตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อนและหลังการปรับปรุงของแม่พิมพ์ในแต่ละชุด ด้วยการปรับมุมเอียงคมตัดพั้นซ์ของแม่พิมพ์แบลงก์สำหรับผลิตแผ่นฝาครอบหม้อน้ำที่ระดับ 0 องศา 1 องศา และ 2 องศา ตามลำดับซึ่งให้ผลการทดลองจริงใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ สำหรับแม่พิมพ์ขึ้นรูปได้ติดตั้งตัวกำหนดตำแหน่งและติดตั้งแผ่นควบคุมรูปร่างชิ้นงาน ในชุดแม่พิมพ์ก่อนและหลังปรับปรุงตามลำดับ พบการดำเนินการพบว่าสามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผลการดำเนินการปรากฏว่าปริมาณชิ้นงานที่สามารถผลิตได้ของแม่พิมพ์แบลงก์ก่อนและหลังปรับปรุงมีค่าเท่ากันที่ 15,508 ชิ้น/วัน อย่างไรก็ตามสามารถลดแรงตัดจากการเอียงคมตัดได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปริมาณชิ้นงานที่ได้จากแม่พิมพ์ขึ้นรูปหลังปรับปรุงเปอร์เซ็นต์พบว่าของดีต่อของเสีย 99:1 เปอร์เซ็นต์ และค่าพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปั๊มใกระบวนการผลิตชิ้นงานด้วยแม่พิมพ์แบลงก์ ภายหลังปรับปรุงมีค่าการใช้พลังงานจำเพาะลดลง 1.51 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าการใช้พลังงานจำเพาะของแม่พิมพ์ขึ้นรูปภายหลังปรับปรุงมีค่าลดลงเท่ากับ 62.59 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ผลที่ปรากฎว่าบริษัทผู้ผลิตสามารถลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปั๊มในการขึ้นรูปวัสดุดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Sanya Kumjing, Yapinit Vachirasurong and Papon Somphasong. A Study the Ability to Deep Drawing Process a
Square Cup by Finite Element Method. Thaksin University Journal 16 No.3 (2013);92-101.

[2] S.H. Zhang, K.B. Nielsen, J. Danckert, D.C. Kang, L.H. Lang. Finite element analysis of the hydromechanical deepdrawing process of tapered rectangular boxes. Journal of Materials Processing Technology 102 (2000); 1-8.

[3] A. Rajabi, M. Kadkhodayan, M. Manoochehri and R. Farjadfar. Deepdrawing of thermoplastic metalcomposite
structures: Experimental investigations, statistical analyses and finite element modeling. Journal of Materials Processing Technology 215(2015); 159–170.

[4] Huseyin Selcuk Halkaci, Mevlut Turkoz and Murat Dilmec. Enhancing formability in hydromechanical deep drawing processadding a shallow drawbead to the blank holder. Journal of Materials Processing Technology 214
(2014); 1638–1646.

[5] Amit Jaisingh, K. Narasimhan, P.P. Date, S.K. Maiti and U.P. Singh. Sensitivity analysis of a deep drawing process for miniaturized products”. Journal of Materials Processing Technology 147 (2004); 321–327.

[6] Maitri Kamonrattapisut and Surangsee Dechjarern. Sheet Metal Forming Process Optimization Using FEM Analysis”. The 21th Conference of the Mechanical Engineering Network of Thailand (2007); 970-975.

[7] Recep Yenitepe. Experimental investigation and optimization of control factors for the formability of al 1050 sheet
conducted by a prototype computer aided hydraulic press. International Journal of Engineering Science and Technology (IJEST), Vol.7 No.1 (2015); 21-31.

[8] A. Chennakesava Reddy. Influence of interphase on tensile behavior of strain hardened AA1100/AlN nanocomposites using RVE models and experimental validation. International Journal of Engineering Science and Technology (IJEST), Vol.7 No.1 Jan (2015); 239-250.