การวิเคราะห์ปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อสัตว์และลูกชิ้นที่จำหน่ายในจังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อหมูและลูกชิ้นที่วางจำหน่ายในตลาด เขตอำเภอเมืองตรังจังหวัดตรัง โดยทำการย่อยสลายตัวอย่างด้วยสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต 1% และย้อมสีตัวอย่างด้วยสารละลายเคอร์คูมิน ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างโดยใช้เทคนิคยูวีวิสิเบิล สเปกโทรโฟโตมิเตอร์วิเคราะห์โดยเปรียบเทียบกับ Calibration Curve ของสารละลายมาตรฐานกรดบอริก ผลการวิเคราะห์พบว่ามีปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อหมูตัวอย่างทุกร้าน ในลูกชิ้นทุกตัวอย่าง ปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อหมูตัวอย่างอยู่ในช่วง2.039-5.340 ppm ปริมาณบอแรกซ์ในลูกชิ้นตัวอย่างอยู่ในช่วง 1.608-2.572 ppm ซึ่งไม่ปลอดภัยในการบริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 151) ซึ่ง กำหนดให้บอแรกซ์เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] กุสุมา พุทธเกิดการตรวจหาสารบอแรกซ์ในอาหารของร้านอาหารประจำหอพักนักศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2550
[3] ภารดี อาษา. การปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหารของร้านอาหารในและรอบบริเวณโรงเรียนประถมศึกษา เขตเมือง จังหวัดชลบุรี.
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีที่ 17 ฉบับที่ 2, 2549
[4] มาลินี พงศ์เสวี การศึกษาผลของบอแรกซ์ต่อการทำให้เกิดกลายพันธุ์ของความเป็นพิษต่อเซลล์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร, 2548
[5] มาลินี พงศ์เสวี ผลของบอแรกซ์ต่อการเกิดความผิดปกติในโครโมโซมมนุษย์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร, 2550
[6] ศิริพร ธงเพ็ง การวิเคราะห์หาปริมาณบอแรกซ์ในหมูยอ โดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมตรี. ภาควิชาเคมี. สถาบันราชภัฎนครปฐม.,2544
[7] หัทยา แย้มไสว. การวิเคราะห์หาปริมาณบอแรกซ์ในหมูยอ โดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมตรี. ภาควิชาเคมี. สถาบันราชภัฎนครปฐม.,2547
[8] สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข การศึกษาสำรวจสถานการณ์ของ “บอแรกซ์” วัตถุห้ามใช้ในอาหาร . สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข, 2543