ปริมาณคลอโรฟิลล์และอนพุันธ์ของคลอโรฟิล์ของมะมวงรับประทานดิบในประเทศไทย หลังการเก็บเกี่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปริมาณคลอโรฟิลล์และอนุพันธ์ของโคลอโรฟิลล์ในมะม่วงรับประทานดิบพันธุ์พื้นบ้านของประเทศไทยหลังการเก็บเกี่ยว โดยทําการวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์ และอนุพันธ์ของโคลอโรฟิลล์โดยวิธี HPLC จากผลการทดลองพบว่าปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บีในเนื้อผลมะม่วงรับประทานดิบทั้ง 13 พันธุ์มีค่าอยู่ในช่วง 0.005 – 0.739 และ 0.009 – 0.073 mg/100 gFW ตามลําดับ โดยสายพันธุ์มีผลต่อชนิดและปริมาณคลอโรฟิลล์แต่ทุกพันธุ์มีการสะสมคลอโรฟิลล์เอ ในเนื้อมากกว่าคลอโรฟิลล์บีโดยมะม่วงพันธุ์ ‘มันขุนศรี’ มีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ในเนื้อผลมากที่สุด เท่ากับ 0.73 mg/100 gFW ส่วนมะม่วงพันธุ์ ‘สามฤดู’ พบการสะสมปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ในเนื้อผลน้อยที่สุด เท่ากับ 0.005 mg/100 gFW จากการวิเคราะห์หาปริมาณคลอโรฟิลล์บีพบว่ามะม่วงพันธุ์ ‘มันขุนศรี’ มีปริมาณคลอโรฟิลล์บีในเนื้อผลมากที่สุด เท่ากับ 0.07 mg/100 gFW และพบว่ามีมะม่วงรับประทานผลดิบเพียง 3 พันธุ์ได้แก่ ‘น้ําดอกไม้’ ‘มหาชนก’ และ ‘สามฤดู’ ที่ไม่พบการสะสมปริมาณคลอโรฟิลล์บีเนื้อผล สําหรับปริมาณคลอโรฟิลไรด์เอ ในเนื้อมะม่วงแต่ละพันธุ์พบอยู่ในช่วง 0.014 – 0.042 mg/100 gFW และตรวจพบคลอโรฟิลไรด์เอ ในเนื้อมะม่วงดิบเพียง 5 พันธุ์ได้แก่ ‘โชคอนันต์’ ‘เขียวเสวย’ ‘ฟ้าลั่น’ ‘ทองดํา’ และ ‘สามฤดู’ โดยพบในปริมาณเล็กน้อย นอกจากนั้น ยังพบว่า มะม่วงพันธุ์ ‘แรด’ มีปริมาณไฟทอล เอ ในเนื้อผลมาก
ที่สุด เท่ากับ 0.219 mg/100 gFW รองลงมาคือ พันธุ์ ‘เบา’ มีปริมาณไฟทอล เอ ในเนื้อผล เท่ากับ 0.171 mg/100 gFW ในขณะที่มะม่วงพันธุ์ ‘มหาชนก’ ไม่พบการสะสมปริมาณไฟทอล เอ ในเนื้อผล
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2]ดวงพร ภู่ผะกา. การประเมินปริมาณสารพฤกษเคมีบางประการ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกของมะม่วงพื้นเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 2558; 43(2):267-283.
[3] Bafna PA, and Balaraman R. “Antioxidant activity of DHC-1 an herbal formulation in experimentally-induced cardiac and renal damage”.Phytother. Res. 2005; 19:216-221.
[4] Pino JA, and et. Al. “Volatile components from mango (Mangifera indica L.) cultivars”. J. Agric. Food Chem. 2005; 53:2213-2223.
[5] Ribeiro SMR and Schieber A. Bioactive Compounds in Mango (Mangifera indica L.) In: Watson R, and Preedy V, editors. Bioactive Foods in Promoting Health: Fruits and vegetables. Missouri: Academic Press; 2010.
[6] Berardini N and et. al. “Screening of mange (Mangifera indica L.) cultivars for their contents of flavonol O- and xanthone C-glycosided, anthocyanings and pectin”. J. Agric. Food Chem. 2005; 53:1563-1570.
[7] Gandul-Rojas B, Cepero MR, and Minguez-Mosquera MI. “Chlorophyll and Carotenoid Patterns in Olive Fruits, Olea europaea cv. Arbequina”. J. Agric. Food Chem. 1999; 47:2207–2212.
[8] Medlicott, A.P., Bhogal, M. and Reynolds, S.B. Changes in peel pigmentation during ripening of mango fruit (Mangifera indica var. Tommy Atkins). Ann Appl Biol 1986; 109:651–656.
[9] Emongor VE. The effects of Temperature on storage lofe of Mango (Mangifera indica L.) Am J Exp Agri 2015;5(3):252-261.