การศึกษาสมบัติทางแร่วิทยา องค์ประกอบทางเคมี และสมบัติกายภาพของดินเหนียว จากแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านชุมชนโรงอ่าง จังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสมบัติทางแร่วิทยา องค์ประกอบทางเคมี และสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนโรงอ่างจาก จ.ปัตตานี พบว่าดินเหนียวส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่ควอตซ์ อิลไลต์- เคโอลิไนต์เล็กน้อย มี SiO2 สูง ร้อยละ 47.68-58.36 รองลงมาเป็น Al2O3 ร้อยละ 24.11-26.94 Fe2O3 ร้อยละ 2.35-3.18 และ TiO2 ร้อยละ 1.32-1.46 ดินขนาดเล็กกว่า 45 ไมโครเมตร ที่ผ่านตะแกรงขนาด 325 เมช พบมากที่สุดร้อยละ 61.94 เป็นอนุภาคที่มีความละเอียดทำให้ดินมีความเหนียว เมื่อเผามวลลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงอุณหภูมิ 700-900 °C พบว่ามวลจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากสูญเสียน้ำและอินทรีย์วัตถุถูกเผาไหม้ การทดสอบดินเหนียวหลังเผาอุณหภูมิ 700-900 °C พบว่ามีการหดตัวร้อยละ 5.10-7.95 ความหนาแน่นหลังเผา 1.69-1.71 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ความแข็งแรงหลังการเผาเท่ากับ 1.42-3.88 เมกะพาสคัล ดินเหนียวจากชุมชนโรงอ่างมีสมบัติสำหรับที่จะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน โดยมีจุดเด่นตรงที่มีปริมาณ Al2O3 สูงเหมาะที่จะนำไปทำผลิตภัณฑ์ทนไฟ ผลิตภัณฑ์หดตัวเล็กน้อยหลังการเผาอุณหภูมิ 900 °C จึงไม่เสียรูปทรงหรือบิดเบี้ยวแต่มีข้อเสียที่มีอนุภาคควอตซ์ขนาดใหญ่กว่า 300 ไมโครเมตร ปนอยู่ทำให้เนื้อดินหยาบมีความพรุนสูงและความแข็งแรงน้อยหากปรับปรุงดินจะทำให้มีสมบัติดีขึ้น
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] บูมีตานี. ตระกูลแซ่โห่: ครอบครัวสุดท้ายที่ปั้นอ่างคู่เมืองปัตตานี. [อินเทอร์เน็ต]. ปัตตานี; 2551 [เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค. 2558]. จาก: https://commsci.pn.psu.ac.th/commsci/web_bumee/index.php.
[3] ตามไปดูโรงปั้นดินเผามรดกประวัติศาสตร์หนึ่งเดียวชุมชนโรงอ่างปัตตานี. [อินเทอร์เน็ต]. สำนักข่าวอามาน; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2558]. จาก: https://thai.amannews.org /view/view.php?id=729.
[4] Google. [Internet]; 2018 [cited 2018 Nov 22]. Available from: https://www.google.com/maps/.
[5] ASTM Committee on Standards. Standard Test Method for Wet Sieve Analysis of Ceramic Whiteware Clay West Conshohocken: Annual Book of ASTM Standards. West Conshohocken: Astm Intl; 1997.
[6] ASTM Committee on Standards. Standard Test Method for Drying and Firing Shrinkages of Ceramic Whiteware Clays West Conshohocken: Annual Book of ASTM Standard. West Conshohocken: Astm Intl; 2003.
[7] ASTM Committee on Standards. Standard Test Method for Water Absorption, Bulk Density, Apparent Porosity and Apparent Specific Gravity of Fired Whiteware Product West Conshohocken: Annual Book of ASTM Standards. West Conshohocken: Astm Intl; 1999.
[8] เชษฐ อุทธิยัง, วัชรินทร์ สิทธิเจริญ, นทีชัย ผัสดี. การพัฒนากระบวนการผลิตหลังคาด้วยวัสดุธรรมชาติคอมโพสิต. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ. 2017; 11(2):69-78.
[9] ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. เซรามิกส์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
[10] Sengupta P, Saikia PC, Borthakur PC. SEM-EDX characterization of an iron-rich kaolinite clay. Am J Sci Ind Res. 2008; 67(10):812-8.
[11] Bohor BF, Hughes RE. Scanning electron microscope of clays and clay mineral. Clay Clay Miner. 1971; 19:49-54.
[12] ฤดี นิยมรัตน์, สมเกียรติ กอบัวแก้ว, ไสว ศิริทองถาวร. รายงานผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการ โครงการอบรมปฏิบัติการสร้างงานเซรามิกจากดินเหนียวท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2558.
[13] ศิริรัตน์ รัตนจันทร์, จรัสศรี ลอประยูร, สุธรรม ศรีหล่อมศักดิ์. การศึกษาคุณภาพดินในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อใช้ในงานด้านเซรามิก. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2545.
[14] สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร: เออร์เทนแวร์. มอก. 601-2546; 2546.
[15] สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์. มผช.46/2556; 2556.