ผลของปุ๋ยต่อผลผลิตใบมะรุม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการผลิตใบมะรุม จากการปลูกมะรุมที่ ใม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มี ธาตุปุ๋ย N P K แตกต่างกัน เก็บผลผลิตใบโดยตัดส่วนยอดยาว 20 ซ.ม. ทำให้แห้งโดยผึ่งในที่ร่ม บันทึกข้อมูลน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง โดยแยกส่วนใบและก้านใบ ผลการทดลองพบว่าหลังปลูก 6 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้ และเก็บเกี่ยวได้ 7 ครั้งในรอบปี แต่ละครั้งมีต้นให้ผลผลิตร้อยละ 51 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ย NK ให้ผลผลิตที่ดีที่สุดโดยให้ผลผลิตสดและใบแห้งเป็น 3414.9 และ 576.25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ย NP และปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับK โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ย K มีประสิทธิภาพผลผลิตสูงสุด รองลงมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับ NK และปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ย N ดังนั้นการให้ปุ๋ยกับมะรุมเพื่อใช้ใบ ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนร่วมกับโพแทสเซียมหรือฟอสฟอรัส สัดส่วนใบสดต่อใบแห้งเป็น 4-6 กิโลกรัมต่อใบแห้ง 1กิโลกรัม
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] ภุชงค์ วีรดิษฐกิจ และไพโชค ปัญจะ. อิทธิพลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;. 23, 2: 293-305.
[3] ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2551. น.332-333
[4] สุธาทิพ ภมรประวัติ. มะรุมลดไขมันป้องกันมะเร็ง. หมอชาวบ้าน 2550; 338 (29) :17-18
[5] อภิชาติ ศรีสอาด. คู่มือการเพาะปลูก แปรรูปและผลิตภัณฑ์มะรุมครบวงจร. กรุงเทพฯ: นาคาอินเตอร์มีเดีย; 2553; น.96.
[6] Animashaun, J.O and Toye, A.A. Feasibility Analysis of Leaf-Based Moringa oleifera Plantation in the Nigerian Guinea Savannah: Case Study of University of Ilorin Moringa Plantation. Agrosearch. 2013; 13, 3: 218 – 231.
[7] Olivier, Caroline. Intensive moringa oleifera cultivation in the north of Senegal: n.d;
[8] Saint Sauveur, A. and Broin, M. Growing and processing moringa leaves. Moringanews, Moringa Association of Ghana. 2010;P 28
[9] Peace Corps Senegal. Moringa: Cultivation and Usage (Pocket Guide). Dakar 2009, 15