เทคนิคการโปรแกรมภาษาซีสำหรับขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ในงานคำนวณทางวิศวกรรมไฟฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงสร้างของการโปรแกรมภาษาซี มีความเหมาะสมกับงานคำนวณทางวิศวกรรม โดยเฉพาะกับเทคนิคการโปรแกรมเชิงวัตถุ(Object-Oriented Programming; OOP) ที่จะทำการนำเสนอ ได้ดำเนินการบนภาษาการโปรแกรมซีพลัสพลัส(C++) ซึ่งเป็นส่วนขยายของภาษาซี วัตถุทางโปรแกรมของภาษาได้ถูกใช้เพื่อการสร้างขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมโดยจัดเป็นนามธรรมทางข้อมูล สำหรับปัญหาทางคณิตศาสตร์ในงานคำนวณทางวิศวกรรมไฟฟ้า ตัวตั้งต้นแบบ(constructor) ของวัตถุบนฐานคลาสที่สร้างขึ้นได้ถูกใช้ในเป้าหมายการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับโครโมโซม(chromosome) ประกอบด้วยขนาด รูปแบบ และจำนวนยีน(gene) ของขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ที่ซึ่งลักษณะสมบัติประจำตัวต่าง ๆ ของโครโมโซมจะถูกนิยามด้วยสมาชิกข้อมูลของคลาส C++ ขณะที่ตัวดำเนินการเชิงพันธุกรรมและกระบวนการวิวัฒนาการจะถูกดำเนินงานด้วยสมาชิกฟังก์ชัน วัตถุเชิงพันธุกรรมของบทความนี้ ให้ผลเป็นที่น่าพอใจสำหรับผลเฉลยเชิงตัวเลขของปัญหาการจ่ายกำลังไฟฟ้าอย่างประหยัด และการไหลของภาระในระบบบกำลังไฟฟ้า
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Duman, S., Özturk, A., Dosoglu, M. K., and Tosun, S. Economic Dispatch by Using Different Crossover Operators of Genetic Algorithm. IU - JEEE, 2010; vol.10, Issue 19; 1173-1183.
[3] Ghiasi, M., Rashtchi, V. and Hoseini, S. H. Optimum Location and Sizing of Passive Filters in Distribution Networks Using Genetic Algorithm. In: Emerging Technologies, 2008. ICET 2008. 4th International Conference on. IEEE 2008; 162-166.
[4] Gjylapi, D. and Kasëmi, V. The Genetic Algorithm for Finding The Maxima of Single-variable Functions. International Journal Of Engineering And Science 2014;4:46-54.
[5] Kaur, A., Singh, H. P. and Bhardwaj, A. Analysis of Economic Load Dispatch Using Genetic Algorithm. IJAIEM 2014;3:240 – 246.
[6] Kim, H., Samann, N., Shin, D., and Ko, B. Jang, G. and Cha, J. A New Concept of Power Flow Analysis. JEET 2007;2:3312 – 319.
[7] Lubkeman, D.L., Ghosh, A. and Zhu, J. Object- oriented Programming for Power Engineering Education. Proc. SSST '93., Twenty-Fifth South eastern Symposium on, Tuscaloosa: 1993; 69-73.
[8] Mastorakis, N.E. Solving Non-linear Equations via Genetic Algorithms. Proc. the 6th WSEAS Int, Lisbon: 2005; 24 -28.
[9] Nasiruzzaman, A.B.M. and Rabbani, M.G. Implementation of Genetic Algorithm and Fuzzy Logic in Economic Dispatch Problem. Proc. ICECE 2008, Dhaka:2008: 360 -365.
[10] Toso, R.F. and Resende, M. G. A C++ Appli cation Programming Interface for Biased Random-key Genetic Algorithms. Optimization Methods and Software 2015; 30:181-93.