การศึกษาอิเล็กโทรดไทเทเนียมอัลลอยด์ในการกัดเซาะด้วยไฟฟ้าบนวัสดุทังสเตนคาร์ไบด์

Main Article Content

พิชัย จันทร์มณี
ดลธรรม เอฬกานนท์
สมชาย วนไทยสงค์
ไพบูลย์ หาญมนต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของอิเล็กโทรดไทเทเนียมอัลลอยด์ (Ti-6Al-4V) ด้วยกรรมวิธีการกัดเซาะด้วยไฟฟ้าบนวัสดุทังสเตนคาร์ไบด์ โดยการทดสอบค่าพารามิเตอร์และเงื่อนไขหลักที่สำคัญ ได้แก่ กระแสไฟฟ้า 7 ระดับ คือ 5, 10, 15, 20, 25, 30 และ 35 A ความต่างศักย์วงจรเปิดเท่ากับ 150 V ปัจจัยประสิทธิภาพ 76% และปรับค่าเวลาเปิด-ปิด (ขั้วบวก/ขั้วลบ) ผลการทดลองพบว่าค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการทดลองในระดับที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบต่อการสปาร์ควัสดุทังสเตนคาร์ไบด์ คือ กระแสไฟฟ้า 30 A ทำให้อัตราการขจัดเนื้องานสูงสุดเท่ากับ 3.900 mm2/min และเกิดอัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรดค่อนข้างสูง ส่วนกระแสไฟฟ้าที่ 5 A ทำให้อัตราการขจัดเนื้องานต่ำสุดเท่ากับ 0.693 mm2/min และเกิดอัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรดค่อนข้างต่ำ จากการตรวจสอบพื้นผิวของวัสดุทดสอบและอิเล็กโทรดหลังทำการสปาร์ค พบว่าพื้นผิวชิ้นงานและผิวอิเล็กโทรดที่มีความหยาบผิวต่ำสุดในกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของอิเล็กโทรดไทเทเนียมอัลลอยด์ มีลักษณะผิวงานค่อนข้างเรียบ ไม่เกิดรอยร้าวและรูพรุนบนผิวงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กมลพงค์ แจ่มกมล และคณะ.“ผลกระทบของกระบวนการอีดีเอ็มที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความแข็งผิวงานเหล็กกล้า AISI P20”, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 20-21 ตุลาคม. โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี.2554.
[2] ทางวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 8. 22-23 เมษายน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา.
[3] พิชัย จันทร์มณี อภิวัฒน์ มุตตาระ. “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอีดีเอ็มทังสเตนคาร์ไบด์ด้วยทากูชิเทคนิค”. การประชุมวิชาการThomas, B. 1991. “Technology of Electrical Discharge Machining”, Druckerei Helene, 6102, Pfunstste: 2553;11-53.
[4] Bulent Ekmekci. “Residual stresses and white layer in electric discharge machining (EDM)”, Applied Surface Science 2007;253 (23):9234-9240.
[5] H.K. Kansal, S. Singh, P. Kumar. “Parametric Optimization of Powder Mixed Electrical Discharge Machining by Response Surface Methodology”, Journal of Materials Processing and Technology. 2005;169:427–436.
[6] I.Puertas, C.J.Luis and L.Alvarez, “Analysis of the influence of EDM parameters on surface quality, MRR and EWR of WC-Co”, Journal of Materials Processing Technology 2004;153-154:1026-1032.
[7] Kuang Yuan Kung and Jenn Tsong Horng. “Material removal rate and electrode wear ratio study on the powder mixed electrical discharge machining of cobalt-bonded tungsten carbide”. International Journal Advanced Manufacturing Technology. 2007;40:95–104.
[8] Pichai Janmanee and et al. “A Study of Surface Hardness Affecting in Electrical Discharge Machining on AISI P20 Plastic Mould Steel”, Advanced Materials Research 2012;557-559:1791-1796.
[9] Salonites, K. and et al. “Thermal modeling of the material removal rate and surface roughness for die sinking EDM”, Springer–Verlag London Limited (Electronic), 2007,2008;Available: Springer (3 August 2008)
[10] Yusaf, K. and et al. “An experimental study for determination of the effects of machining parameters on surfaces roughness in electrical discharge machining (EDM)”, Springer–Verlag London Limited (Electronic) 2005;28:1118 –1121.