ความแตกต่างของกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ

Main Article Content

เพ็ญวารี วิจิตรเวชไพศาล
สุวิมล นภาผ่องกุล
ลัคนา ชัยศักดิ์เลิศ ชัยศักดิ์เลิศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจหาความแตกต่างของกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ  ว่าอะไรคือความแตกต่างของกลยุทธ์การเรียนรู้ของทั้งสองภาษา   งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลที่คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ   ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 4  ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 60 คน   งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ   แบบสอบถามจะถามนักศึกษา หลังจากที่นักศึกษาตอบแบบสอบถามและให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างกลยุทธ์การเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษก่อนที่จะแจกแบบสอบ ถามให้กับนักศึกษา   ผู้วิจัยจะทดลอง (pilot - test) เพื่อหาความความแม่นยำและถูกต้อง ( validity)และความน่าเชื่อถือ (reliability) ของแบบสอบถาม  หลังจากนั้นจะเป็นการสุ่มสัมภาษณ์หลังจากที่ได้ทำแบบสอบถามแล้ว   ส่วนที่ 1 ถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ส่วนที่ 2 ถามเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการเรียนภาษาของภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ แบบสอบถามในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย 23 ข้อ ซึ่งถูกออกแบบและดัดแปลงมาจากแนวคิดกลวิธีการเรียนรู้ของ Oxford’s taxonomy (1990) เพื่อหากลยุทธ์ในการเรียนคำศัพท์ เช่น กลยุทธ์ในการตัดสินใจ (determination strategies) กลยุทธ์ทางด้านสังคม (social strategies) กลยุทธ์ทางด้านการจำ (memory strategy) กลยุทธ์ทางด้านการรับรู้ (cognitive strategies) และกลยุทธ์ทางด้านการรู้คิด metacognitive strategies  ส่วนที่ 3 ผู้วิจัยจะสัมภาษณ์นักศึกษาหลังจากที่ได้อ่านบทความของภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น   หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกวิเคราะห์


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นกลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่นก็แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลยกัน เช่นการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารในโลกสังคมออนไลน์มาช่วยในกระบวนการเรียนรู้ภาษานักศึกษาจะใช้ทั้งกลยุทธ์ทางตรงและทางอ้อมในการเรียนทั้งสองภาษา กลยุทธ์ทางตรงเช่น  สอบถามจากเพื่อน  ผู้รู้เช่นอาจารย์ และจากเจ้าของภาษาเป็นต้น   ส่วนกลยุทธ์ทางอ้อม เช่น  การฟังและการอ่านจากสื่ออนไลน์ กลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับทางด้านอารมณ์ (Affective strategies) ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอีกด้วย กลยุทธ์ทางสังคมในด้านการร่วมมือกับผู้อื่นนั้นเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในการเรียนภาษา เช่นมีการร่วมมือกันปฏิบัติงานกับเพื่อน การนั่งเป็นกลุ่ม ช่วยกันหาความหมาย หรือแม้แต่การถามเพื่อน    งานวิจัยชิ้นนี้ เน้นในเรื่องการเรียนรู้ด้าน receptive skill ไม่ได้เน้นองการเรียนรู้ด้าน output  ซึ่งเป็นผลที่ได้จะเป็นผลของการรับรู้ การเรียนรู้  เหมือนกันทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ดังนั้น อาจจะเป็นผลให้กลยุทธ์ในการเรียนของทั้ง 2 ภาษาไม่แตกต่างกันมากนัก  ตามเหตุผลข้างต้น ดังนั้นจึงมีนัยสำคัญว่า  การเรียนรู้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาตนเอง เช่น ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย หรือแม้กระทั่งภาษาในกลุ่มอาเซียน  ผู้เรียนก็อาจจะมีกลยุทธ์ในการเรียนไม่แตกต่างกันนัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Dickenson,L.Self-insturuction in language learning.np:Cambridge University;1987.
[2] Green,J.M.and Oxford R. A closer look at learning strategies,L2 proficiency and gender.TESOL Quarterly.1995;29:261-297.
[3] O’Malley,J.M and Chamot,A.U.language strategies in second language acquisition.np: Cambridge University;1990.
[4] Oxford R.Use of language learning strategies:A synthesis of studies with lmplication for strategies training.System.1990;17:1-13.
[5] Rubin,J.Study of cognitive process in second language learning. TESOL Quarterly.1981;2:117-131.
[6] Rubin,J.What the good language learner can teacher us. TESOL Quarterly.1975;9:41-45.
[7] Stern,H.H.Fundamental concept to language teaching.Bialystok: Oxford University;1990.
[8] Watanabe,Y.External variable affective language learning strategies of Japanese EFL learners. TESOL Quarterly.1990;29:261-297.