การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยทะลายต้นจากในกระบวนการทอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยทะลายต้นจากในกระบวนการทอ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นใยทะลายต้นจาก พัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยทะลายต้นจากในกระบวนการทอ และประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เส้นใยทะลายต้นจาก นำเส้นใยทะลายต้นจากที่ไม่ผ่านการย้อมสีจำนวน 20 เส้นมาทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่ามีค่าแรงดึงสูงสุด และความเค้นสูงสุดเฉลี่ย+ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 11.78+2.07 และ 20.45+4.95 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร ตามลำดับ ผลจากการทดสอบชี้ให้เห็นว่าเส้นใยทะลายต้นจากมีความแข็งแรงและเหนียวสามารถที่จะนำมาทอเป็นผืนผ้าได้
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยทะลายต้นจากในกระบวนการทอ นำเส้นใยทะลายต้นจากมาทำการทอเป็นผืนผ้ามีลวดลาย 3 รูปแบบ ได้แก่ ลายพื้นหรือลายขัดธรรมดา ลายลูกฟูก และลายตาราง ประเมินเพื่อหาลวดลายที่เหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการออกแบบ จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญได้เลือกลายลูกฟูกเนื่องจากมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ และควรมีกระบวนการยืดอายุการใช้งานเส้นใยต้นจากเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุ
เส้นใยทะลายต้นจากที่ทอเป็นลายลูกฟูกมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์โคมไฟต้นแบบ 3 รูปแบบ ได้แก่ โคมไฟตั้งพื้น โคมไฟตั้งโต๊ะตกแต่ง และโคมไฟตั้งโต๊ะทำงาน ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์เส้นใยทะลายต้นจาก จำนวน 50 คน ในพื้นที่สวนจตุจักร กรุงเทพมหานครฯ พบว่า ด้านรูปแบบ ผู้บริโภคต้องการโคมไฟชนิดตั้งพื้นมากที่สุด ( =4.18) ด้านการให้แสงสว่าง ต้องการเน้นแสงที่ส่องออกได้หลายทางมากที่สุด ( =4.48) ด้านการใช้ประโยชน์ ต้องการความปลอดภัยในการใช้งานมากที่สุด ( =4.62) ด้านการใช้งาน ต้องการใช้ในบ้านมากที่สุด ( =4.56) ด้านราคา ต้องการราคา 800-1,000 บาท มากที่สุด ( =4.25) ด้านลักษณะรูปทรง ต้องการรูปทรงที่ไม่สูงเกิน 30 ซม. มากที่สุด ( =4.44) ด้านการใช้สี ต้องการเคลือบสีธรรมชาติมากที่สุด ( =4.18) และ ด้านวัสดุโครงสร้าง ต้องการวัสดุ สแตนเลสมากที่สุด ( =4.40)
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] บุษรา สร้อยระย้า. การใช้ประโยชน์จากใยกล้วย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร วิทยาเขตโชติเวช, กรุงเทพฯ: 2545.
[3] มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 4. ธนาคารไทยพาณิชย์, กรุงเทพ: 2542.; หน้า 1527-1535.
[4] รจนา จันทราสา. 2553. การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝก. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.
[5] วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. การออกแบบตกแต่ง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร; 2539.หน้า 109-191.
[6] ศราวุธ โตสวัสดิ์. การศึกษาการแยกใยไผ่สีสุกเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบทางสิ่งทอ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กรุงเทพฯ: 2554.
[7] สาธิต เหล่าวัฒนพงษ์ และสิทธิชัย สมานชาติ. การศึกษาวิเคราะห์เส้นใยจากพืชตระกูลกล้วยทางภาคเหนือ เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร 2555;6(1): 120-130.
[8] สุจิระ ขอจิตต์เมตต์. การนำผักตบชวามาผลิตเส้นใยสำหรับงานเกษตร. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคล 2545;2: 1-5.
[9] เสาวณีย์ อารีจงเจริญ, นฤพน ไพศาลตันติวงศ์, รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์ และสาคร ชลสาคร. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยตะไคร้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2556.