กลยุทธ์พิชิตการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนแบบใหม่ ระดับ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากสภาพเศรษฐกิจของประเทศจีนที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนและนักศึกษาที่เรียนจบสาขาวิชาภาษาจีนต้องมีผลการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาจีนหรือที่เรียกว่าHSK เพื่อเป็นเครื่องมือรับประกันว่าบุคคลนั้นสามารถใช้ทักษะภาษาจีนได้ครบถ้วน ซึ่งการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาจีนในระดับที่จัดเป็นมาตรฐานความสามารถทางภาษาจีนที่นานาชาติยอมรับ และนำไปใช้ในการสมัครงานหรือศึกษาต่อต่างประเทศ จะเป็นHSKระดับที่ 4ขึ้นไป ซึ่งการสอบHSK(ระดับ4)จัดเป็นระดับที่มีผู้สนใจสมัครสอบจำนวนมาก ทำให้ผู้เขียนตัดสินใจเลือกที่จะเน้นในระดับนี้ โดยการสอบHSK ระดับ4 คือ การสอบวัดระดับทางภาษาจีนที่ผู้สอบจะต้องมีความรู้คำศัพท์ภาษาจีนประมาณ 1,200 คำ และเรียนภาษาจีนมาอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา ต้องเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์จีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถใช้ภาษาจีนสนทนาในหัวข้อต่างๆ ได้หลากหลาย และสามารถใช้ภาษาจีนสื่อสารกับคนจีนหรือเจ้าของภาษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามสถานการณ์
สำหรับกลยุทธ์พิชิตข้อสอบ HSK(ระดับ4)นั้น แบ่งออกเป็น 3 ทักษะตามข้อสอบได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน ซึ่งแต่ละทักษะจะมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไป นอกจากการเรียนรู้กลยุทธ์แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาในการทำข้อสอบHSK(ระดับ4) ที่พบบ่อย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาจากการทำข้อสอบและสามารถทำข้อสอบได้มีประสิทธิผลสูงสุด
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Confucius Institute Headquarters(Hanban). HSK Test Syllabus. 1st ed. Beijing: People’s Education; 2015.
[3] Confucius Institute Headquarters (Hanban). Official Examination Papers of HSK(Level 4). 3rd ed. Beijing: People’s Education; 2015.
[4] Han Zhaofei. The analysis and the test-taking strategies research of reading question of the new HSK level 4. Professional Master Degree Dissertation of Ludong University; 2016.
[5] Liu Yun. Xin HSK Gaofen Shizhan Shijuan(level 4). 1st ed. Beijing: Peking University; 2013.
[6] Tai Yunqiang. A comparative analysis of the difficulty between the two levels of Thai Professional Aptitude Test (PAT 7.4) and the new HSK (level4).Professional Master Degree Dissertation of Tianjin Normal University. 2016.
[7] Wang Haifeng, Chen Li, Lu Yun. A Short Intensive Course of New HSK (Level 4). 2nd ed. Beijing: Beijing Language and Culture University; 2015.
[8] Xia Xiaoyun, Liu Ying, Shen Canshu. Sample Test for New HSK(Level 4). 1st ed. Beijing: Peking University; 2012.
[9] XuLihua. Xin Hanyu Shuiping Kaoshi Jiaocheng(level 4). 1st ed. Zhejiang: Zhejiang Education Publishing; 2015.
[10] ZhengLijie. HSK Analysis (level 4). 2nd ed. Beijing: Higher Education; 2016