ผลของภาชนะบรรจุต่อคุณภาพของขนมขบเคี้ยวจากข้าวหอมนิล
Main Article Content
บทคัดย่อ
แป้งข้าวหอมนิลที่มีความชื้น 15% มาผลิตเป็นขนมขบเคี้ยวชนิดพองกรอบโดยใช้เครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์ ชนิดสกรูเดี่ยว โดยควบคุมอุณหภูมิของบาร์เรลส่วนทำให้แป้งสุกและบาเรลส่วนที่เป็นทางออกของผลิตภัณฑ์เป็น 80 และ 120°C ตามลำดับ และความเร็วรอบของสกรูที่ส่งผ่านวัตถุดิบเป็น 250 รอบต่อนาที จากนั้นศึกษาเปรียบเทียบชนิดของภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ภาชนะบรรจุที่ทำจากถุงพอลิโพรไพลีน (Oriented polypropylene, OPP) และถุงพอลิโพรไพลีนที่เคลือบด้วยแผ่นเปลวอะลูมิเนียม Oriented polypropylene/metalized aluminium/polypropylene (oriented PP/metalized/PP), metalized OPP (Met OPP)) ต่อคุณภาพของขนมขบเคี้ยว ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 27°C เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าขนมขบเคี้ยวมีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (aw) และความชื้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าความแข็งของขนมขบเคี้ยวลดลง ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (p<0.05) อย่างไรก็ตามขนมขบเคี้ยวที่เก็บรักษาในภาชนะบรรจุทั้ง 2 ชนิดยังคงเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ตลอดอายุการเก็บรักษา 12 สัปดาห์
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Han YJ, Tran TTT, Le VVM. Corn snack with high fiber content: Effects of different fiber types on the product quality. LWT- Food Sci Tech. 2018;96:1-6.
[3] ศศิเกษม ทองยงค์, พรรณี เดชกำแหง. เคมีอาหารเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์; 2530.
[4] ปุ่น คงเจริญเกียรติ, สมพร คงเจริญเกียรติ. บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพมหานคร: แพคเมทส์; 2541.
[5] Hernendez RJ, Selke SEM, Culter JD. Plastics Packaging: Properties, Processing, Applications and Regulations. Cincinnati: Hanser Gardner Publications, Inc; 2000.
[6] Robertson GL. Structure and related properties of plastic polymers. In Robertson GL, editor. Food Packaging: Principles and Practice. 2nd ed. Florida: Taylor & Francis Group, LLC; 2006.
[7] Biron M. Thermoplastics and thermoplastic composites. Burlington: Elsevier, Ltd; 2007.
[8] Odian G. Principles of polymerization. 4th ed. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.; 2004.
[9] Keller LE. 1991. Oriented polypropylene film structure. United states Patent US 5019447. 1991 May 28.
[10] Oxygen transmission rate Online Resources [Internet]. Tucson: Poly Print Inc. [updated 2008; cited 2019 June 13] Available from: http://www.polyprint.com/ flexographic-otr.htm.
[11] เยาวดี คุปตะพันธ์, ดวงจันทร์ เฮงสวัสดิ์, วันเพ็ญ มีสมญา และคณะ. การประเมินคุณภาพทางโภชนาการและศึกษาอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง: รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2546.
[12] รัชดา สาดตระกูลวัฒนา. การพัฒนาอาหารเช้าพร้อมบริโภคอัดแท่งจากธัญพืช [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
[13] Sangnark A, Limroongreungrat K, Yuenyongputtakal W, et al. Effect of Hom Nil rice flour moisture content, barrel temperature, and screw speed of a single screw extruder on snack properties. International Food Research Journal. 2015; 22(5):2155-61.
[14] AOAC. Official Method of Analysis. 17th ed. Arillington, Virginia: The Association of Official Analytical Chemists; 2000.
[15] Pearson D. Laboratory Techniques in Food Analysis. New York: Wiley; 1976.
[16] Rowland SP. Water in Polymers, ACS Symposium. Series 127. Washington, D.C.: American Chemical Society; 1980.
[17] Labuza T, Roe K, Payne C, et al. Storage stability of dry food systems: Influence of state changes during drying and storage. In: Drying 2004 - Proceedings of the 14th International Drying Symposium (IDS 2004); 2004 August 22-25; São Paulo, Brazil. Campinas: State Univ., Chemical Engineering School; 2004. p. 48-68.
[18] Bastos DM, Monaro É, Siguemoto É, et al. Maillard reaction products in processed food: pros and cons. In Valdez B., editor. Food industrial processes-methods and equipment. Rijeka: IntechOpen; 2012. p. 281- 300.