การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอาหารไก่ไข่ 3 ชนิด ที่มีต่อน้ำหนักไข่และต้นทุนการผลิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอาหารไก่ไข่ 3 ชนิด ที่มีต่อน้ำหนักไข่และต้นทุนการผลิต ได้แก่ อาหารสำเร็จรูปชนิดผง อาหารสำเร็จรูปชนิดอัดเม็ด และอาหารสำเร็จรูปชนิดผงผสมกับกากมะพร้าวอบแห้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ที่มีหน่วยทดลอง คือ ไก่ไข่สาวพันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดง อายุ 20 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1.8 – 2.0 กิโลกรัม จำนวน 120 ตัว แบ่งไก่ทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม สำหรับให้อาหารแต่ละชนิด ชนิดละ 40 ตัว ซึ่งไก่ไข่จำนวน 40 ตัว จะถูกแบ่งออกเป็น 10 กรง กรงละ 4 ตัว ระยะเวลาทำการทดลอง คือ 49 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยพบว่า อาหารสำเร็จรูปชนิดผงผสมกับกากมะพร้าวอบแห้งทำให้น้ำหนักไข่สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยอาหารไก่ไข่อีก 2 ชนิด คือ อาหารสำเร็จรูปชนิดผง และอาหารสำเร็จรูปชนิดอัดเม็ด ส่งผลให้น้ำหนักไข่ไม่แตกต่างกัน แต่อาหารสำเร็จรูปชนิดผงมีต้นทุนค่าอาหารต่ำที่สุด และมีกำไรสูงที่สุด ดังนั้นจึงเป็นอาหารที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่ไข่มากที่สุด ถึงแม้ว่าจะทำให้น้ำหนักไข่ที่ได้น้อยกว่าอาหารสำเร็จรูปชนิดผงผสมกับกากมะพร้าวอบแห้ง
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ปวีณา ทรงธิบาย. ผลของการเสริมกากมะพร้าวอบแห้งในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่. งานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2547.
สรศักดิ์ สารสิทธิ์. ผลของการเสริมกากมะพร้าวสดในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่. งานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2547.
โสภณ บุญล้ำ, จุฑามาศ กระจ่างศรี. การเสริมขมิ้นชันในอาหารไก่ไข่ที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตไข่และคุณภาพไข่. งานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2554.
ฐิติมา แสงหลง, ปัญญารัตน์ นามจุมจัง, ศิรินาฎ ภูมิภาค, และคณะ. การเสริมใบมะรุมผงในอาหารไก่ไข่ต่อผลผลิต คุณภาพไข่และอายุการเก็บรักษาไข่ไก่. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5; วันที่ 25 พฤษภาคม 2560; มหาวิทยาลัยสยาม คณะวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม; 2560. น.177-80.
รัตญาพร นากใจ, ศรีน้อย ชุ่มคำ. ผลของการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพเปลือกไข่และคุณภาพภายในของไข่. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6; วันที่ 6 มิถุนายน 2561; มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2561. น.284-8.
จิราวัลย์ จิตรถเวช. การวางแผนและการวิเคราะห์การทดลอง. กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนรายวันการพิมพ์; 2552.
Montgomery DC. Design and Analysis of Experiments. 6th ed. New York: John Wiley and Sons; 2005.
นฤมล สมคุณา, จรัส สว่างทัพ, จิรประภา รอดจากเข็ญ และคณะ. การศึกษาการเพิ่มระดับโปรตีนของกากมะพร้าวสดและแห้ง โดยกระบวนการหมักยีสต์และยูเรีย. แก่นเกษตร. 2557; 42(ฉบับพิเศษ 1): 290-4.