การคำนวณค่าความเสี่ยงและการทดสอบสภาวะวิกฤตสำหรับตราสารหนี้ระยะยาว

Main Article Content

วิกานดา สุภาสนันท์
สัจจา ดวงชัยอยู่สุข

บทคัดย่อ

ในงานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีการบริหารและการทดสอบพอร์ตโฟลิโอภายใต้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้  โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง คือ อัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้รัฐบาลที่ไม่มีคูปองที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 45 ปี ของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 จากข้อมูลดังกล่าว เมื่อใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก จะพบว่าการอธิบายความผันผวนที่เกิดขึ้นกับข้อมูลอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้รัฐบาลที่ไม่มีคูปองมีอยู่ 3 องค์ประกอบหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงค่าอัตราดอกเบี้ย ความชันและการเปลี่ยนแปลงของเส้นโค้ง ซึ่งเพียงพอต่อการอธิบายความผันผวนของเส้นอัตราดอกเบี้ย และได้นำองค์ประกอบเหล่านี้มาใช้ในการจำลองอัตราดอกเบี้ยในภาวะที่ผิดปกติ โดยใช้ตัวแปรสุ่มที่ ±1SD, และ ±2SD เพื่อมาคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และเปรียบเทียบกับการวัดมูลค่าความเสี่ยง (VaR) ในการศึกษานี้พบว่า สำหรับค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 การทดสอบในสภาวะวิกฤติจะใช้การคำนวณน้อยกว่าการวัดมูลค่าความเสี่ยงเพราะไม่จำเป็นต้องจำลองสถานการณ์ของเส้นอัตราผลตอบแทน และผลที่ได้ยังสอดคล้องกับการวัดความเสี่ยงด้วยมูลค่าความเสี่ยงที่จำลองเส้นอัตราดอกเบี้ยโดยจากการสุ่มทั้งหมด 100,000 ครั้ง  งานวิจัยนี้จึงสามารถช่วยบริหารจัดการในการประเมินความเสี่ยงและผลกำไรที่บริษัทประกันต้องเสี่ยง โดยเกิดจากการลงทุนของการถือตราสารหนี้รัฐบาลเป็นหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Ho T, Lee S. Term structure movements and pricing interest rate contingent claims. Journal of Finance. 1986; 41(5): 1011–29.

[2] Subhash S. Applied Multivariate Techniques. 1st ed. New York: John Wiley Sons; 1996.

[3] Cox JC, Ingersoll JE,Ross SA. An intertemporal general equilibrium model of asset prices. Econometrical. 1985; 53:363–84.

[4] Cox JC, Ingersoll JE, Ross SA. A theory of the term structure of interest rates. Econometrical. (1985b); 53:385–407.

5] David R, David S, Matteson R. Statistics and data analysis for financial engineering. 2nd ed. New York: Cornell university; 2011.

[6] Jan RM. Creating a zero coupon curve by bootstrapping with cubic splines. Division of Applied Mathematics School of Education, Culture and Communication: Mälardalen University; 2010.

[7] สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย; 2561.

[8] John H, Alan W. One-factor interest-rate models and the valuation of interest-rate derivative securities. The journal of financial and quantitative analysis. (1993); 28(2): 235-54.