ความเข้มข้นและอัตราการปลดปล่อยแก๊สเรดอนจากตัวอย่างหินที่ใช้ในการก่อสร้าง บริเวณทางตอนเหนือของจังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
พื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดยะลาเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณธาตุยูเรเนียม-238 ในดินสูง อาจส่งผลให้ในพื้นที่นี้มีความเข้มข้นของแก๊สเรดอนในอาคาร และในวัสดุก่อสร้างสูงด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาความเข้มข้นและอัตราการปลดปล่อยแก๊สเรดอนจากวัสดุก่อสร้างประเภทหิน จำนวน 27 ตัวอย่าง โดยใช้เทคนิค Close-Can และวัดแก๊สเรดอนด้วยเครื่อง ATMOS 12 dpx ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของแก๊สเรดอน อัตราการปลดปล่อยแก๊สเรดอน และปริมาณรังสียังผลมีค่าเฉลี่ย 49.24±8.43 Bq·m-3, 16.56±3.00 mBq·kg-1·h-1 และ 1.24±0.21 mSv·y-1 ตามลำดับ โดยความเข้มข้นของแก๊สเรดอนในตำบลลิดล มีค่าสูงกว่าค่าอ้างอิง (300 Bq·m-3 ที่กำหนดโดย WHO) และในส่วนของปริมาณรังสียังผลพบว่ามีตำบลลิดล เกะรอ และกอตอตือระ มีค่าสูงกว่าค่าอ้างอิง คือ 1 mSv·y-1 กำหนดโดย ICRP
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Barbosa-Lorenzo R, Ruano-Ravina A, Caramésd SC, et al.. Residential radon and lung cancer. An ecologic study in Galicia, Spain. Medicina Clínica (Barc). 2015; 144:304-8.
[3] Chen J, Rahman MN, Atiya IA. Radon exhalation from building materials for decorative use. J Environ Radioact. 2010; 101:317-22.
[4] Sakoda A, Hanamoto K, Ishimori Y, et al. Radioactivity and radon emanation fraction of the granites sampled at Misasa and Badgastein. Appl Radiat Isot. 2008; 66:648-52.
[5] Gillmorea GK, Phillipsb PS, Denmanc AR., et al. . Radon in the Creswell Crags Permian limestone caves. J Environ Radioact. 2002; 62:165-179.
[6] พวงทิพย์ แก้วทับทิม. รายงานวิจัยเรื่องการตรวจปริมาณยูเรเนียมในดินพื้นผิว พื้นที่จังหวัดยะลาด้วยแกมมาสเปกโตรมิเตอร์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2545.
[7] Sola P, Srinuttrakul W, Laoharojanaphan S, et al.. Estimation of indoor radon and the annual effective dose from building materials by ionization chamber measuremen. J Radioanal Nucl Chem. 2014; 302:1531-5.
[8] สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
[9] Kovler K, Perevalov A, Steiner V, et al . Radon exhalation of cementitious materials made with coal fly ash: Part 1 – scientific background and testing of the cement and fly ash emanation. J Environ Radioact. 2005; 82:321-334.
[10] กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม. แร่ หิน ดิน ทราย. [Internet].; 2550 [cited 2560 มีนาคม 19]. Available from: https://www.dpim.go.th.
[11] Pereira. Estimation of the radon production rate in granite rocks and evaluation of the implications for geogenic radon potential maps: A case study in Central Portugal. J Environ Radioact. 2017; 166(2):270-7.
[12] Moharram BM, Suliman MN, Zahran NF, et al. 238U, 232Th content and radon exhalation rate in some. Egyptian building materials. Ann Nucl Energ. 2012; 45:138-43.
[13] Al-Jarallah, M. Radon exhalation from granites used in Saudi Arabia. J Environ Radioact. 2001; 53:91-8.
[14] Al-Azmi D, Okeyode IC, Alatise OO, et al . Setup and procedure for routine measurements of radon exhalation rates of building materials. Radiat Meas. 2018; 112:6-10.