การออกแบบและพัฒนาเครื่องต้นแบบระบบวัดทางไฟฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาเครื่องต้นแบบระบบวัดค่าทางไฟฟ้าเพื่อให้สามารถนำเครื่องต้นแบบระบบวัดค่าทางไฟฟ้ามาใช้ในการวัดค่ากระแสไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้าสลับ การวัดค่าแรงดันไฟฟ้า การวัดค่าความต้านทาน การวัดค่าความจุทางไฟฟ้า การวัดค่าความถี่ และการวัดค่าพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าได้ ซึ่งเครื่องต้นแบบระบบวัดค่าทางไฟฟ้าที่สร้างขึ้นนี้ มีผลของการทดสอบการใช้งานแสดงให้เห็นได้ว่า เครื่องต้นแบบนั้นสามารถวัดค่ากระแสไฟฟ้าตรงและกระแสไฟฟ้าสลับได้ในหน่วยของแอมแปร์ โดยสามารถวัดค่าได้ที่ย่าน 0.2 ถึง 40 แอมแปร์ และย่าน 1 ถึง 400 แอมแปร์ การวัดค่าแรงดันไฟฟ้าได้ที่ย่าน 0 ถึง 1,000 โวลท์ การวัดค่าความต้านทานได้ที่ย่าน 1 โอห์ม ถึง 40 เมกะโอห์ม การวัดค่าความจุของตัวเก็บประจุได้ ในหน่วยของไมโครฟารัด ได้ที่ย่าน 1 ถึงย่าน 4,000 ไมโครฟารัด การวัดค่าความถี่ในหน่วยเฮิรตซ์ วัดค่าได้ที่ย่าน 10 เฮิรตซ์ ถึง 1 เมกะเฮิรตซ์ และการวัดการรั่วของกระแสไฟฟ้า การซ๊อตของวงจรไฟฟ้าได้ด้วย เครื่องต้นแบบระบบวัดค่าทางไฟฟ้านี้สามารถวัดค่าพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าได้เทียบเท่ากับเครื่องมาตรฐานวัดค่าทางไฟฟ้า Fluke รุ่น 325 ได้อย่างแม่นยำและมีค่าความคลาดเคลื่อนจะต้องไม่เกิน 5 %
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] ETCR, Electronic Technology Co.,Ltd. [Internet]. Guangzhou; 2017 [cited 2017 Oct 25]. Available from: http://en.gzetcr.com
[3] เจษฎา ชินรุ่งเรือง. ทฤษฎีวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ประเทศไทย กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
[4] บุญธรรม ภัทราจารุกุล. งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 1 ประเทศไทย กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2556.
[5] ษิรากร ซีโฮ่. ศึกษาการวัดกระแสไฟฟ้าจาก Current Transformer ที่สร้างขึ้นเทียบกับดิจิตอลแคลมป์มิเตอร์.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
[6] นฤมล วันน้อย.เครื่องต้นแบบแสดงผลคุณภาพกำลังไฟฟ้าและบันทึกผลอัจฉริยะด้วยระบบจัดเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมแลปวิวสำหรับการจัดการอนุรักษ์พลังงาน .การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7 วันที่ 30 – 31 มีนาคม.นครปฐม;2558.1-9.
[7] ธนารัตน์ ตันมณี,ประเสริฐ ดลรวีวุ่นแม่สอด,ธนิต มาละวรรณโณ และคณะ.โพรบวัดกระแสไฟฟ้าสลับแบบขดลวดโรโกสกี้ขนาด 1 KA.วารสารวิชาการและวิจัยมทร.พระนคร,ฉบับพิเศษ: 2556; 16 Suppl:S108-17.
[8] Position Test Systems (MPT) Portable Test PTS model 3.3 [Internet]. Switzerland: Landis+GyrStrasse1, P.O.box7550,6302Zug Schweiz; c2019 [cited 2019 Aug 25]. Available from: https://www.mte.ch/
[9] Fluke 325 True-rms Clamp Meter [Internet]. Singapore: Fluke South East Asia Pte Ltd1, Clementi Loop; c2019 [cited 2019 Aug 15]. Available from: https://www.fluke.com/