รูปแบบการจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

กฤติยา เกิดผล
ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร

บทคัดย่อ

       


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและบ่งชี้ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีและเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี โดยงานวิจัยนี้เริ่มจากรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณหาน้ำหนักของปัจจัยด้วยเทคนิคการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ (Multiple criteria decision making, MCDM) เพื่อคำนวณคะแนนในแต่ละปัจจัยหลักโดยใช้การหาค่าน้ำหนักจากการเปรียบเทียบทีละคู่ (Pair wise comparisons) จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาคำนวณหาค่าน้ำหนักของปัจจัยหลักโดยวิธีการหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (Geometric mean) และค่าความสำคัญของปัจจัยย่อยโดยวิธีการ Simple additive weight (SAW) แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย จากนั้นใช้การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis) เพื่อหาช่องว่างในการพัฒนาด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรีเพื่อสร้างเป็นรูปแบบการพัฒนาด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทุบรี ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความปลอดภัยในการเดินทาง 2) ข้อมูลสารสนเทศในการเดินทาง 3) ความสะอาดของที่พัก 4) ข้อมูลสารสนเทศของสถานที่ท่องเที่ยว และ  5) ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว และวิเคราะห์เป็นกลยุทธ์ได้ทั้งหมด 6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนาและฟื้นฟูและสำรวจแหล่งท่องเที่ยว 2) ปรับปรุงเส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวให้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น 3) ขยายเครือข่ายสัญญาณและตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว 4) เน้นการร่วมเครือข่ายธุรกิจชุมชนให้มากขึ้น 5) พัฒนามาตรฐานระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว 6) พัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพพร้อมให้บริการนักท่องเที่ยว สามารถสร้างเป็นรูปแบบการจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Economic Intelligence Center. Thailand Tourism [Internet]. 2016 [cited 2017 June 4] available from: https://www.scbeic.com/th/detail/product/355

Tourism Authority of Thailand. Chanthaburi [Internet]. 2015. [cited 2017 April 2]. Available from: https://thai.tourismthailand.org

National Statistical Office. Situation Domestic Travellers by Province: 2009 – 2015 [Internet]. 2016 [cited 2017 June 4] available from: https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html

Chanthaburi Provincial Office. Chanthaburi Provincial Development Plan (2014 - 2017). Chanthaburi Provincial Development Strategy Group: Chanthaburi Provincial Office. 2015.

Kaosa – Ard M. Integrated development of sustainable tourism for the Greater Mekong Sub-region 3: a comparison of GMS logistics systems. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University; 2009.

Krejcie R, Morgan W. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas. 1970; 30(3):607 – 10.

อภิรดี สรวิสูตร. การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์: เปรียบเทียบแนวคิด และวิธีการระหว่าง SAW AHP และ TOPSIS. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2559; 8(2): 180 – 192.

Malzewski J. GIS and Multicriteria decision analysis. New York. John Wiley & Sons, Inc.; 1999.

ไพรัช พิบูลรุ่งโรจน์. โซ่อุปทานการท่องเที่ยว. เชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2555.

Tapper R, Font X. Tourism supply chains. Report of a Desk Research Project for the Travel Foundation. Leeds Metropolitan University; 2004.

Zhang X, Song H and Huang QG. Tourism Supply Chain Management: A new research agenda. Tourism Manag. 2009; 30(3):278-87.

รุธิร์ พนมยงค์. บทบาทของโลจิสติกส์ต่อการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารบริหารธุรกิจ. 2554; ฉบับพิเศษ:1 – 10.

พชร ภิญโญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาท่องเที่ยวถนนคนเดิน ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

อรุณี ลอมเศรษฐี. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.2554.

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. การจัดการโลจิสติกส์สําหรับการท่องเที่ยวในอําเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 2555; 6(2):17 – 33.

ปนัสยา สิระรุ่งโรจน์กนก. พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว : กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559.

ธณัศวัล กุลศร. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์สิรินธร ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการ Veridian E Journal. 2559; 9(3): 467 – 82.