โรงเรือนแบบไฮโดรโปนิกส์ที่มีระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์

Main Article Content

ชัยวัฒน์ สากุล
ขจรศักดิ์ พงศ์ธนา

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบการสร้างโรงเรือนแบบไฮโดรโปนิกส์ที่มีระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โครงสร้างของระบบจะมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นระบบพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถผลิตกำลังได้ที่ 842.21 วัตต์ต่อวัน โดยใช้แผงโซล่าร์เซลล์ขนาด 120 วัตต์ ซึ่งสามารถทำงานได้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนที่สองจะเป็นการทำงานของระบบควบคุมการการทำงานในโรงเรือน ซึ่งมีอยู่ 5 ระบบ คือ ระบบควบคุมการผสมปุ๋ย ระบบควบคุมการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ระบบควบคุมการสูบน้ำ ระบบควบคุมอุณหภูมิและระบบควบคุมความชื้นภายในโรงเรือน ขนาดของโรงเรือนที่ใช้ในการทดสอบจะมีความกว้าง 1.2 เมตร และความยาว 2.4 เมตร หลังคาของโรงเรือนจะเป็นรูปแบบทรงหน้าจั่วโดยปลายยอดหลังคาจะสูงขึ้นจากโครงเสา 0.8 เมตร ข้อดีคือจะสามารถระบายความร้อนได้ดี และพื้นโรงเรือนจะยกสูงจากพื้นดิน 0.80 เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถระบายน้ำส่วนเกินออกได้ โดยที่ช่วงเวลากลางวันระบบสามารถควบคุมความชื้นภายในโรงเรือนได้ 80% ที่อุณหภูมิ 35˚C และระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำจะทำงานควบคู่กับระบบการผสมปุ๋ยมีอัตราส่วนคือ 400 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 80 ลิตร ที่เวลา 13 วินาที โดยระบบจะมีการทำงานทุก ๆ 7 วัน จนครบ 4 ครั้ง และในครั้งที่ 5 ระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำยังคงทำงานตามปกติโดยที่ระบบผสมปุ๋ยจะหยุดการทำงาน จากผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบพบว่าโรงเรือนแบบไฮโดรโปนิกส์ที่ออกแบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ดิเรก ทองอร่าม. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน: หลักการจัดการผลิตเชิงธุรกิจในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงพิมพ์ใหม่ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2550.

[2] นพดล เรียบเลิศหิรัญ. การปลูกพืชไร้ดิน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.

[3] โสระยา ร่วมรังสี. การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2544.

[4] อานัฐ ตันโช. คู่มือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. เชียงใหม่: ทรีโอแอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย; 2552.

[5] ธนากร น้ำหอมจันทร์, อติกร เสรีพัฒนานนท์. ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดินแบบ Evaporative Cooling System ร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติโดยใช้ PLC. รายงานฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ประจำปีการศึกษา 2555. กรุงเทพฯ; 2556.

[6] คำคูณ พันธวงศ์, รัฐศิลป์ รานอกภานุวัชร์. โรงเรือไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ. การประชุมวิชาการงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองท้องถิ่นและภาคอุตสาหกรรม. The 9th Conference on Application Research and Development; 25-28 กรกฎาคม 2560; เชียงคาน, จังหวัดเลย. 2017

[7] สมนึก ฉิมเรือง, ตันติกร จันโท. การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพื่อการปลูกผักสวนครัว. ภาควิชาวิศวกรรมเกษร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ประเทศไทย; 2559.