อิทธิพลของวัสดุเพาะกล้าที่มีต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน

Main Article Content

รองศาสตราจารย์วรางคณา เรียนสุทธิ์
ธารารัตน์ หนูนุ่ม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัสดุเพาะกล้าที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน ดำเนินการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 5 ซ้ำ ซึ่งมีทรีตเมนต์ คือ วัสดุเพาะกล้า 5 ประเภท ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนผสมดินทราย ดินร่วนผสมขุยมะพร้าว ดินร่วนผสมแกลบ และดินร่วนผสมปุ๋ยคอก เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนักสดและร้อยละการรอดของต้นอ่อนทานตะวัน ผลการวิจัยพบว่า วัสดุเพาะกล้าทั้ง 5 ประเภท ส่งผลให้น้ำหนักสดของต้นอ่อนทานตะวันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยดินร่วนผสมปุ๋ยคอกทำให้น้ำหนักสดของต้นอ่อนทานตะวันต่ำที่สุด แต่วัสดุเพาะกล้าอีก 4 ประเภททำให้น้ำหนักสดไม่แตกต่างกัน วัสดุเพาะกล้าทั้ง 5 ประเภท ส่งผลให้ร้อยละการรอดของต้นอ่อนทานตะวันไม่แตกต่างกัน ดังนั้นไม่ควรปลูกต้นอ่อนทานตะวันโดยใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก เนื่องจากจะทำให้ได้น้ำหนักสดของต้นอ่อนทานตะวันต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รักชนก ภูวพัฒน์, มูฮัมมัดบาคอรี ยูโซ๊ะ และโซเฟีย เมฆารัฐ. การศึกษาอายุที่เหมาะสมของต้นอ่อนทานตะวันต่อความสามารถในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ. วารสรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2559; 8(1): 90-100.

หน่วยวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. บทสังเคราะห์งานบริการวิชาการเชิงสร้างสรรค์ [Internet]. นครราชสีมา. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2561]. จาก https://sciencetech.nrru.ac.th/ research/images/stories/report/compressed_921977221.pdf

จิราภา จอมไธสง. การเพาะผักงอก [Internet]. กรุงเทพ: กรมส่งเสริมการเกษตร; 2559. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561]. จาก http://www.servicelink.doae.go.th/corner%20book/book%2006/plant.pdf

ดารณี เกียรติสกุล. การศึกษาวัสดุเพาะและวิธีการเพาะเมล็ดเพื่อผลิตต้นอ่อนทานตะวันเพื่อการค้า [Internet]. เชียงใหม่: สถาบัน การอาชีวศึกษาภาคเหนือ; 2560. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561]. จาก http://www.iven1.ac.th/main/attachments/การศึกษาวัสดุเพาะและวิธีการเพาะเมล็ดเพื่อผลิตต้นอ่อนทานตะวันเพื่อการค้า.pdf

รณรงค์ อยู่เกตุ, ภัทรพล บุตรฉิ้ว และวิไลลักษณ์ ชินะจิตร. ผลของวัสดุเพาะกล้าและการแช่เมล็ดพันธุ์ที่มีต่อการผลิตทานตะวันงอก. วารสารแก่นเกษตร 2557; 42(ฉบับพิเศษ): 926-30.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. แผนแบบการทดลอง. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ; 2559.

วิบูลย์ พงศ์พรทรัพย์. การออกแบบการทดลอง. For Quality Magazine. 2559; 23(218): 17-9.