การพัฒนาสมรรถนะเตาชีวมวลชนิด TLUD ระดับครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
เตาชีวมวลชนิด Top-Lit Up-Draft (TLUD) ที่มีอยู่แบบเดิมมีสมรรถนะเชิงความร้อนค่อนข้างต่ำ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะเตาชีวมวลชนิด TLUD ระดับครัวเรือน โดยดำเนินการวิจัย 2 ส่วนคือ ออกแบบและพัฒนาเตาชีวมวลชนิด TLUD จากเดิม และทำการเปรียบเทียบสมรรถนะเชิงความร้อนเตาที่ปรับปรุงแล้วกับเตาชีวมวลชนิด TLUD แบบเดิม เตาชีวมวลชนิด TLUD มาตรฐาน และเตาชีวมวลท้องถิ่น (เตาปากยื่น) ในการทดสอบสมรรถนะใช้วิธีต้มน้ำเดือด (WBT) โดยผลการวิจัยพบว่าค่าสมรรถนะของเตาได้แก่ ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อน (h) อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ (SEC) และค่าใช้จ่ายพลังงานจำเพาะ (SCC) ของเตาชีวมวลชนิด TLUD ที่พัฒนาแล้วมีสมรรถนะที่เทียบเท่ากับเตาชีวมวลชนิด TLUD มาตรฐาน แต่เวลาในการเดือดของน้ำ (BT) มีค่าดีกว่าเตา TLUD มาตรฐาน และเตาชีวมวลชนิด TLUD ที่พัฒนาแล้วมีค่าสมรรถนะดีกว่าเตาปากยื่นและเตาชีวมวลชนิด TLUD แบบเดิม ในขณะที่อัตราการเผาไหม้ (BR) และกำลังไฟ (P) ของเตาชีวมวลชนิด TLUD ที่พัฒนาแล้วมีค่าต่ำกว่าเตาชีวมวลชนิด TLUD แบบเดิม สำหรับการเปรียบเทียบกับเตาชีวมวลชนิด TLUD แบบเดิมนั้นพบว่าค่าสมรรถนะ (h, SEC, SCC, BR, P และ BT) มีแนวโน้มที่ดีขึ้นคิดเป็น 36.26, 28.41, 29.27, 16.07, 16.10 และ 22.95% ตามลำดับ โดยสามารถสรุปได้ว่าการลดความสูงของที่ตั้งภาชนะ และการลดการกระจายของเปลวไฟทำให้สมรรถนะเชิงความร้อนของเตาชีวมวลชนิด TLUD สูงขึ้น
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Rasoulkhani M, Ebrahimi-Nik M, Abbaspour-Fard MH, et al. Comparative evaluation of the performance of an improved biomass cook stove and traditional stoves of Iran. Sustainable Environment Research. 2018; 28:438–43.
Suresh R, Singh VK, Malik JK, el al. Evaluation of the performance of improve biomass cooking stoves with different solid biomass fuel types. Biomass and Bioenergy. 2016; 95:27–34.
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงพลังงาน; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2562]. จาก: http://www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf
อรมน ทรัพย์ทวีธรรม; กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. อนาคตยางพาราไทย ในตลาดจีนยังสดใสได้ด้วย FTA [อินเทอร์เน็ต]. 11 มีนาคม 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2562]; คอลัมน์: แตกประเด็น. จาก: https://www.prachachat.net/columns/news-299731
ไม้ยืนต้น ยางพารา [อินเทอร์เน็ต]. กรมส่งเสริมการเกษตร; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2562]. จาก: http://www.agriinfo.doae. go.th/year60/plant/rortor/perennial/rubber.pdf
ฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทยประจำปีเพาะปลูก พ.ศ. 2556 [อินเทอร์เน็ต]. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2562]. จาก: http://webkc. dede.go.th/testmax/node/2450
พิสิษฎ์ มณีโชติ, ประพิธาร์ ธนารักษ์, วิกานต์ วันสูงเนิน และคณะ. การพัฒนาห้องเผาไหม้เตาชีวมวลจากเซรามิก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2557; 33(5):480–4.
สมมาส แก้วล้วน, ดำรงศักดิ์ จันโทสี, สุรชัย จันทร์ศรี และคณะ. การทดสอบสมรรถนะเตาชีวมวลขนาด 20 kW. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2556; 8(1):24-33.
Huangfu Y, Li H, Chen X, et al. Effect of moisture content in fuel on thermal performance and emission of biomass semi-gasified cookstove. Energy for Sustainable Development 2014; 21:60–5.
Berrueta VM, Edwards RD, Masera OR. Energy performance of wood-burning cookstoves in Michoacan, Mexico Renewable Energy. 2008;33 (5):859–70.
Oyelaran OA, Bolaji BO, Waheed MA, et al. Performance Evaluation of the Effect of Binder on Groundnut Shell Briquette. KMUTNB Int J Appl Sci Technol. 2015; 8 (1):11–19.
Global alliance for clean cookstove and the MIT D-Lab. Handbook for Biomass Cookstove [Internet]. 2017 [cite 2018 Nov 15]. Available from: https://www.cleancookingalliance.org/resources/517.html