การศึกษาความสามารถการรับความเค้นดัดของวัสดุผนังหนาและการดูดซับพลังงานของวัสดุสี่เหลี่ยมตันที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ

Main Article Content

ศุภชัย หลักคำ
พลรัชต์ บุญมี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์มีบทบาทอย่างมากต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย ในขณะที่จำนวนซากชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากซากชิ้นส่วนยานยนต์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถการรับความเค้นดัดของวัสดุผนังหนาและการดูดซับพลังงานของวัสดุสี่เหลี่ยมตันเพื่อนำไปต่อยอดเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคต โดยวัสดุต้นแบบผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่มีศักยภาพ 3 ชนิด คือ ผักตบชวา ใบสับปะรด และอ้อย เสริมแรงด้วยแกลบ และใช้น้ำยาประสาน 3 ชนิด คือ กาว พอลิเมอร์ และพอลิเมอร์ผสมฮาร์ดเดนเนอร์ โดยทำการควบคุมมวล และความหนาแน่นของชิ้นงาน การขึ้นรูปชิ้นงานถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) ชิ้นงานชนิดบาง ซึ่งมีขนาด กว้าง×ยาว×สูง เท่ากับ  3.5x14x1 cm และถูกนำไปทดสอบหาความสามารถการรับโมเมนต์ดัด และ 2) ชิ้นงานชนิดหนา ซึ่งมีขนาด กว้าง×ยาว×สูง เท่ากับ 6.5x6.5x20 cm ถูกนำไปทดสอบหาความสามารถการดูดซับพลังงาน ผลการทดสอบพบว่าชิ้นงานที่ผลิตจากอ้อยผสมแกลบ โดยมีกาวเป็นน้ำยาประสานสามารถรับความเค้นดัด และมีค่ามอดูลัสความยืดหยุ่นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของชิ้นงานทั้งหมดมากถึงร้อยละ 55.16 และ 38.84 ตามลำดับ ในขณะที่การทดสอบหาความสามารถการดูดซับพลังงานพบว่าชิ้นงานที่ผลิตจากใบสับปะรดเสริมผสมแกลบ โดยมีพอลิเมอร์เป็นน้ำยาประสานสามารถดูดซับพลังงานได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของชิ้นงานทั้งหมดถึงร้อยละ 22.87 ผลลัพธ์ที่ได้ถูกนำไปกำหนดการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีการรับแรงแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรีดา จันทวงษ์. การศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำผสมเส้นใยของผักตบชวา. วารสารวิจัยภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกําลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2555; 29(1):46.

สุปราณี แก้วภิรมย์, ศิริเดช บุญแสง. คอมโพสิตรักษ์สิ่งแวดล้อมจากพอลิแลคติกแอซิดและเส้นใยสับปะรด. รายงานวิจัย[อินเทอร์เน็ต]. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2560]. จาก: http://digital_collect. lib.buu.ac.th/dcms/files//2559_065.

กิติศักดิ์ บัวศรี. การพัฒนาแผ่นกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ผสมเส้นในมะพร้าวและเส้นใยชานอ้อย. บทความวิชาการ[อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2560]. จาก: http://www. kanpoly.ac.th/kan/data/research_1417705481_vijai2.pdf.

วรวิทยา วรนาวิน, กุลยศ สุวันทโรจน์, พิเชษฐ์ บุญญาลัย และคณะ. การศึกษาโครงสร้างกันแรงกระแทกของรถยนต์ที่ส่งผลต่อการดูดซับพลังงาน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556; 18(3):435-48.

ศุภชัย หลักคํา, วรวิทย์ วรนาวิน. การเปรียบเทียบความสามารถการดูดซับพลังงานของวัสดุทางเลือกสําหรับโครงสร้างดูดซับแรง กระแทกรถยนต์. วารสารวิจัย มทร.ตะวันออก. 2557; 7(2):56-66.

Nakazawa Y, Tamura K, Yoshida M, et al. Development of crash-box for passenger car with high capability for energy absorption. COMPLAS 2005 VIII International Conference on Computational Plasticity; 2005 Sep 5-8; Barcelona, Spain. Spain: Springer; 2005.

Ghasemnejad H, Hadavinia H, Marchant D, et al. Energy absorption of thin-walled corrugated crash box in axial crushing. Structural Durability and Health Monitoring. 2008; 4(1):29-46.

Hakim S. Energy absorption characteristics and crashing parameters of filament glass fiber /epoxy composite tubes. Eur J Sci Res. 2002; 39(1):111-121.

Heung-Soo K. New extruded multi-cell aluminum profile for maximum crash energy absorption and weight efficiency. Thin-Walled Structures. 2002 ;40(4):311-27.

Toksoy AK, Güden M. Partial Al foam filling of commercial 1050H14 Al crash boxes: The effect of box column thickness and foam relative density on energy absorption. Thin-Walled Structures. 2010; 48(7):482-94.

สมศักดิ์ ไชยะภินันท์. กลศาสตร์ของไหล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์; 2552.

วริทธิ์ อึ้งภากรณ์. การออกแบบเครื่องจักรกล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2556.

Euro New Car Assessment Programs. Pedestrian Protection [Internet]. Brussels: EURO NCAP Press; [cited 2017 Jan 29]. Available from: http://www. euroncap.com/en/vehicle-safety/the-ratings-explained/pedestrian-protection/.

Hibbeler RC. Engineering mechanics dynamics. 3rd ed. Singapore: Prentice-Hall; 2004.

Ugural AC, Fenster SK. Advanced strength and applied elasticity. 3rd ed. USA: Prentice-Hall; 1995.