ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสที่มีวงจรแก้ไขตัวประกอบกำลังไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักรรีดยางไฟฟ้า

Main Article Content

อนุชิต อุไรรัตน์
เฉลิม จินาตุน

บทคัดย่อ

       


บทความนี้นำเสนอแนวทางใหม่สำหรับเครื่องจักรรีดยางไฟฟ้าคือระบบขับเคลื่อนมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสพร้อมวงจรแก้ไขตัวประกอบกำลัง วิธีการที่นำเสนอมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบดั้งเดิมในแง่ของการลดผลรวมความผิดเพี้ยนของฮาร์มอนิกและทำให้ความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำคงที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลดผลรวมความผิดเพี้ยนของฮาร์มอนิก ไฟฟ้ากระแสสลับเฟสเดียวจะถูกแปลงผันเป็นไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟสผ่านวงจรแปลงผันแบบทบแรงดันไฟฟ้าด้วยโหมดกระแสไหลต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังใช้วิธี V / f เพื่อควบคุมความเร็วมอเตอร์เหนี่ยวนำและนำวิธีการกลุ่มอนุภาคมาใช้ในการหาค่าเกนการควบคุม โดยใช้วิธีการค่าปริพันธ์ของค่าผิดพร่องกำลังสองแปรตามเวลา (เป็นฟังก์ชันวัตถุประสงค์) จากการพัฒนาต้นแบบพบว่าวิธีการนี้สามารถแก้ไขตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟฟ้าได้ระหว่าง 0.97 ถึง 0.98 และผลรวมความผิดเพี้ยนของฮาร์มอนิกเท่ากับ 3.17 เปอร์เซ็นต์ซึ่งนำไปสู่การลดกำลังไฟฟ้าต้านกลับของเครื่องกำเนิดและทำให้การสูญเสียในแกนเหล็กของเครื่องจักรกลไฟฟ้าลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรจบ อรชร, อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล, ทนงศักดิ์ ภักดีบุญ และคณะ. เครื่องรีดยางพาราแบบต่อเนื่อง. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2550; 30(1):167-81.

Mohamed K, Metwaly, Haitham Z, et al. Power Factor Correction of Three-Phase PWM AC Chopper Fed Induction Motor Drive System Using HBCC Technique. IEEE Access. 2017; 7: 43438-52.

Henao GA, Castro JA, Trujillo CL, et al. Design and Development of a LED Driver Prototype with a Single-Stage PFC and Low Current Harmonic Distortion. IEEE LATIN AMERICA TRANSACTIONS.2017; 15(8): 1368-1375.

ดำรง จีนขาวขำ, ประสิทธิ์ จันทร์มนตรี. วงจรเรียงกระแสบริดจ์เฟสเดียวที่มีการพัฒนาค่าตัวประกอบกำลังด้วยการแปลงผันแบบบูสต์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2550; 17(2): 43-51.

จารุวัฒน์ มณีรัตนาพร, ณัฐพงษ์ แก่นมาลี. การออกแบบวงจรบูสต์คอนเวอร์เตอร์ชนิดแก้ไขตัวประกอบกำลังและวงจร เลื่อนเฟสฟูลบริดจ์อนิเวอร์เตอร์สำหรับเครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 19(1):73-87.

ยุทธนา กันทะพะเยา, เฉลิมพล เรืองพัฒนาวิวัฒน์. การออกแบบตัวควบคุมพีไอแบบกําหนดเกนด้วยฟัซซีสําหรับควบคุม การทำงานการขนานมอดูลแปลงผันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559; 9(3):11-24.

Oruganti R, Srinivasan R. Single phase power factor correctionn - A review. Sadhana. 1997; 22(6):753-80.

Power Factor Correction (PFC) Handbook. Colorado, USA: SCILLC. 2014.

STK57FU394AG-E 2-in-1 PFC and Inverter Intelligent Power Module (IPM), 600 V, 15 A[Internet}.Semiconductor; 2016 [Cite 2020 Jan]. Available from: https://www.onsemi.com/pub/Collateral/STK57FU394AG-E-D.PDF

Mitja U, Tine K, Primo S, et al. Integrated single-phase PFC charger for electric vehicles. Electrical Engineering. 2018; 100:2421-9.

Behzad M, Aleksandar P. Low-Volume PFC ectifier Based on Nonsymmetric Multilevel Boost Converter. IEEE TRANSACTIONS ON POWER ELECTRONICS. 2015; 30(3):1372-96.

ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าขั้นสูง. ยุทธนา ขำสุวรรณ์.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

ทรงกลด ศรีปรางค์, วันชัย ทรัพย์สิงห์. การออกแบบและประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล dSPIC ในอินเวอร์เตอร์ 3 เฟส. การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6. 5-7 พฤษภาคม 2553; โรงแรม เดอะ รีเจนท์ ชะอำบีช รีสอร์ท ชื่อเดิม ฮอลิเดย์อินน์ รีสอร์ท รีเจ้นท์บีช, เพชรบุรี. 2553.