สมบัติความคงทนของสีและสมบัติทางกายภาพของผ้าฝ้ายที่พิมพ์ซิลค์สกรีนด้วยสีดินแดง

Main Article Content

นรเทพ โปธิเป็ง
ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม
รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาสูตรแป้งพิมพ์และภาวะที่เหมาะสมในการพิมพ์ซิลค์สกรีนบนผ้าฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากดินแดง โดยจัดสิ่งทดลองด้วยวิธีแฟคทอเรียล 3x2 ในแผนการทดลองแบบสุ่มโดยตลอด (Factorial 3x2 in CRD) ปัจจัยที่ศึกษามี 3 ปัจจัยคือ อัตราส่วนระหว่างแป้งพิมพ์สำเร็จรูปกับผงดินแดง 3 ระดับ (90 : 10, 80 : 20 และ 70 : 30) เวลาในการผนึกสี 2 ระดับ (5 และ 10 นาที) และอุณหภูมิในการผนึกสี2 ระดับ (120 และ150 องศาเซลเซียส) โดยการเปรียบเทียบ ความคงทนของสีต่อการซักล้าง ความคงทนของสีต่อน้ำ ความคงทนของสีต่อเหงื่อ ความคงทนของสีต่อแสงแดดเทียม ความคงทนของสีต่อการขัดถู และความกระด้างของผ้า รวมถึงศึกษาผลของการใช้สารช่วยติด 3 ชนิดได้แก่ อะลูมิเนียมโพแทสเซียมซัลเฟต หรือ อะลัม เฟอร์รัสซัลเฟต และโซเดียมคลอไรด์ ผลการทดลองพบว่า ผ้าฝ้ายพิมพ์สูตร C2 ใช้อัตราส่วน แป้งพิมพ์สำเร็จรูป 70 กรัม ผงดินแดง 30 กรัม เวลา 5 นาที อุณหภูมิผนึกสี 150 องศาเซลเซียส มีค่าความเข้มสี (K/S) 4.483 และสารช่วยติดที่มีภาวะที่ดีที่สุด คือ เฟอร์รัสซัลเฟต 10 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร มีค่าความเข้มสี (K/S) 4.436 ผลการทดสอบความคงทนของสีและสมบัติทางกายภาพ พบว่า ค่าความคงทนของสีต่อการซักล้าง น้ำ และเหงื่ออยู่ในระดับ 3-4 (ปานกลาง-ดี) ค่าความคงทนของสีต่อแสงแดดเทียมอยู่ในระดับ 4 (ปานกลาง) ค่าความคงทนของสีต่อการขัดถูอยู่ในระดับ 1-2 -2-3 (ต่ำ) และความกระด้างของผ้า แนวเส้นด้ายยืน 2.64 เซนติเมตร แนวเส้นด้ายพุ่ง 1.82 เซนติเมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ngulube T, Gumbo JR, Masindi V, et al. An update on synthetic dyes adsorption onto clay based minerals: A state-of-art review. J Environ Manag. 2017; 15(191):35-57.

John SM, Johansen JD, Rustemeyer T. et al, editors. Kanerva’s Occupational Dermatology[Internet]. Springer International Publishinm; 2018 [cited 2020]. Available from: http://dx.doi.org./10.1007/978-3-319-402 21-5

Dawood S, Sen T. Review on dye removal from its aqueous solution into alternative cost effective and non-conventional adsorbents. J Chem Process Eng. 2014; 1(104);1-11.

Edwards E. Cloth and community: The local trade in resist-dyed and block-printed textiles in Kachchh district, Gujarat. Journal Textile History. 2007; 38(2); 179–97.

นันทิยา อัจฉราวรรณ์, ไพรัช วงศ์ยุทธไกร, สมพล มงคลพิทักษ์สุข. การสกัดสีย้อมผ้าจากดินแดง. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 2554; 5(1):26-35.

กิตติคุณศักดา ศิริพันธุ์. สีในศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2559.

Muthu S, Gardetti M, editors. Sustainability in the Textile and Apparel Industries. Switzerland, Springer International; 2020.

ศุภณี เรียบเลิศหิรัญ. วัสดุทางการพิมพ์. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.

ภัทธาวุธ มนต์วิเศษ, สุภารัตน์ รักชลธี, วรา ชัยนิตย์. การพัฒนาสีพลาสติกซอลจาก EVA สำหรับงานพิมพ์สกรีน : รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2558.

ไพรัตน์ ปุญญาเจริญนนท์, กาญจนา ลือพงษ์, จำลอง สาลิกานนท์. การพัฒนาการเตรียมสีผงจากสีย้อมธรรมชาติ : รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2557.

รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์. วิธีการทดสอบความคงทนของสีบนวัสดุสิ่งทอตามมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2549.

นวลแข ปาลิวนิช. ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2542.

สุดารัตน์ ศรีโสด. การพัฒนาเส้นใยเซลลูโลสต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยสารซิลเวอร์นาโนและสารช่วยยึดจากธรรมชาติ. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2559.

จรูญ คล้ายจ้อย, วิโรจน์ ผดุงทศ. การพัฒนาเทคนิคการทำผ้าบาติกบนผ้าไหมด้วยสี ธรรมชาติ : รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2552.

นฤมล ศิริทรงธรรม. ข่าวสารเคมีสิ่งทอ กองอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. 2533; 6(2):22-32.

กชกร สกุลบริสุทธิ์, สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ, ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ. ผลของสารช่วยติดที่มีต่อความคงทนของสีผ้าฝ้ายสีธรรมชาติสีน้ำตาล. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2559; 8(15):1-15.

สุนิษา แสงบุญ. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยเทคนิคการพิมพ์เส้นด้ายยืนแบบซิลค์สกรีนจากสีธรรมชาติ. [โครงการในงานออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอระดับปริญญาตรี]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2556.

สมชาย อุดร, วันเพ็ญ ปนคำ. สมบัติความเข้มและความคงทนของสีของผ้าฝ้ายถักพิมพ์ด้วยสีครามธรรมชาติโดยเทคนิคการพิมพ์ลอกสี. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ. 2558; 9(1):66-78.

ศิวพร แก่นจันทร์, ปิยะพร คามภีรภาพพันธ์. การย้อมผ้าไหมด้วยสีจากกากกาแฟโดยใช้สารสกัดจากเปลือกทับทิมเป็นสารช่วยติด. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ. 2557; 8(1):127-32.

นันทิยา อัจฉราวรรณ์. การสกัดสีย้อมผ้าจากดินแดง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ; 2553.

สิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์, นันทนา จิรธรรมนุกุล, นริศรา กุลปรีชานันท์. การดัดแปรดินมอนต์มอริลโลไนต์เพื่อใช้เป็นสารหน่วงไฟในผ้าฝ้าย : รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.