ประสิทธิภาพการลอกกาวไหมอีรี่ด้วยสารละลายขี้เถ้าจากใบกล้วยและสบู่มาตรฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลอกกาวไหมอีรี่โดยการแช่สารละลายด่างสองชนิดคือ (1) สารละลายขี้เถ้าจากใบกล้วย และ (2) สบู่มาตรฐาน โดยจัดสิ่งทดลองด้วยวิธีแฟคทอเรียล 2 × 3 ในแผนการทดลองแบบสุ่มโดยตลอด (Factorial 2 × 3 in CRD) ปัจจัยที่ศึกษามี 3 ปัจจัยคือ ชนิดของสารลอกกาว 2 ระดับ (ขี้เถ้าจากใบกล้วยและสบู่มาตรฐาน) pH ของสารละลาย 3 ระดับ (8, 9 และ 10) เวลาในการแช่ 3 ระดับ (3, 6 และ 9 วัน) แช่รังไหมในสารละลายขี้เถ้าจากใบกล้วย และสบู่มาตรฐานที่อุณหภูมิห้อง ล้างด้วยน้ำสะอาด และอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นศึกษาสัณฐานของเส้นใย สมบัติทางกายภาพ และค่าการติดของสี (K/S) ผลการศึกษาพบว่า สัณฐานวิทยาของเส้นใยทั้งภาพตามยาว และตัดขวางของเส้นใยไหมอีรี่ที่ผ่านการลอกกาวด้วยสารละลายขี้เถ้าจากใบกล้วย มีการสลายออกของกาวเซริซินดีกว่าสารละลายสบู่มาตรฐานที่ pH 10 ระยะเวลา 9 วัน มีค่าร้อยละของน้ำหนักเส้นใยที่ลดลงมากที่สุด คือ ร้อยละ 67.6 ขนาดของเส้นใยเล็กที่สุด 10.386 ไมโครเมตร ในขณะที่สารละลายขี้เถ้าจากใบกล้วยที่ pH 8 ระยะเวลา 3 วัน มีค่าความต้านทานต่อแรงดึงขาดมากที่สุด 7.986 นิวตัน นอกจากนี้สารละลายขี้เถ้าจากใบกล้วยที่ pH 10 ระยะเวลา 9 วัน มีค่าการติดของสีน้อยที่สุด 5.593 (K/S) ตามลำดับ ซึ่งมีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม. คู่มือการเลี้ยงไหมอีรี่. นครปฐม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2557.
บริษัท TTIS จำกัด. เส้นด้ายจากไหมอีรี่ (Eri Silk) จากบริษัท สปัน ซิลด์ เวิลด์จำกัด. TTIS Textile Digest. 2559; 25(207):37
วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา. วิทยาศาสตร์เส้นใย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
Vyas SK, Shukla SR. Comparative study of degumming of silk varieties by different techniques. J Textil Inst[Internet]. 2015. [cited 2020 May 29]. Available from: https://doi.org/10.1080/00405000.2015.1020670
Murugesh B K. Chapter 5. The dyeing of silk. In: Silk 2nd Edition Processing Properties and Applications, Silk. 2019. 115-119.
สุชาดา อุชชิน, ทักษิณ ฤกษ์สำราญ. อิทธิพลขี้เถ้าเปลือกต้นโกงกางและใบกล้วยที่มีผลต่อการลอกกาวและย้อมสีไหม. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51; 5-7 กุมภาพันธ์ 2557. กรุงเทพ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.
ดำรง คงสวัสดิ์. สารละลาย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา; 2544.
Singh S, Khajuria R. Chapter 11 Penicillium Enzymes for the Textile Industry. New and Future Developments in Microbial Biotechnology and Bioengineering. Elsevier. 2018. P. 204.
เกียรติชัย ดวงศรี. การใช้สารสกัดโปรตีนเซริซินจากรังไหมเสีย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2553.
วัชรา หงส์เวียง, ธีรพงษ์ แสงสิทธิ์. สบู่และผงซักฟอก[อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/biochem_web/Lipid_04.htm
ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ. วิทยาศาสตร์สิ่งทอ เส้นใย (Fiber)[อินเทอร์เน็ต]. ความรู้และเทคโนโลยีสิ่งทอ Textile. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://www2.mtec.or.th/th/research/textile/textile_sci.html
นงนุช ศศิธร, กาญจนา ลือพงษ์, จำลอง สาลิกานนท์ และคณะ. การลอกกาวไหมด้วยยางมะละกอ : รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2550.