การปรับสภาพเส้นใยสับปะรดจากการแยกเชิงกลด้วยน้ำและสารเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพเส้นใยจากใบสับปะรด ทดลองโดยเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของเส้นใยสับปะรดที่ได้จากแยกด้วยกระบวนการเชิงกลตามด้วยการปรับสภาพด้วยน้ำประปา โซเดียมไฮดรอกไซด์ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แปรผันความเข้มข้นของสารเคมีร้อยละ 1.0–5.0 ผลการทดลองพบว่าการแยกเส้นใยจากใบสับปะรดด้วยเครื่องแยกเส้นใยแบบกึ่งอัตโนมัติแยกเส้นใยได้ร้อยละ 7.67±1.85 เส้นใยที่ผ่านการแยกเชิงกลแล้วเมื่อนำมาปรับสภาพด้วยสารเคมีพบว่าพื้นผิวมีลักษณะเรียบขึ้นตามความยาวของเส้นใย ภาพตัดขวางเส้นใยมีลักษณะกลมขึ้นและช่องว่างในเส้นใยจะหายไป ภาวะที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพเส้นใยจากใบสับปะรดคือ แยกเส้นใยด้วยเครื่องแยกเส้นใยแบบกึ่งอัตโนมัติตามด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 1 น้ำหนักโดยปริมาตรได้เส้นใยมีความยาวเฉลี่ย 67.43±6.44 เซนติเมตร ขนาดเส้นใย 30.02±1.46 ดีเนียร์ ความหยักร้อยละ 2.152±0.058 ความต้านทานแรงดึงขาด 461.20±39.43 นิวตัน และความยืดตัวก่อนขาดร้อยละ 1.69±0.13
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ตารางแสดงรายละเอียดสับปะรดโรงงาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2562].จาก http://www.oae.go.th/view/1/
ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย, นันทยา เก่งเขต. ใบสับปะรด: แหล่งเส้นใยธรรมชาติที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว.[อินเทอร์เน็ต] 2557. [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2562] ;12(2):1–9. เข้าถึงได้จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/ssj/article/view/4821
ควบคุมมลพิษ, กรม. แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ; 2548.
ชุติมา หวังเบ็ญหมัด, ธนากร พฤกษ์รัตนนภา. นวัตกรรมเส้นใยสับปะรดสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นของกลุ่มรักษ์บ้านเราสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2562; 11(1):13–30.
ลดามาศ เบ็ญชา, ณัฐวดี ช่อเจริญ, ญาณสินี สุมา และคณะ. ความเป็นไปได้เบื้องต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. ใน: กิจการ พรหมมา, เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ, สุดารัตน์ เจียมยั่งยืน, และคณะบรรณาธิการ[Digital Proceeding]. การประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ; 21-22 กรกฎาคม 2559; อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. 2559. 418–23.
Aremu MO, Rafiu MA, Adedeji KK. Pulp and Paper Production from Nigerian Pineapple Leaves and Corn Straw as Substitute to Wood Source. Int Res J Eng Technol. 2015;2(4):1180 –8.
Asim M, Abdan K, Jawaid M, Nasir M, et al. A Review on Pineapple Leaves Fibre and Its Composites. Int J Polym Sci. 2015;2015:1–16.
Yusof Y, Ahmad MR, Saidin W, et al. Producing Paper Using Pineapple Leaf Fiber. Adv Mater Res. 2012; 383–390: 3382–86.
Leao AL, Souza SF, Cherian BM, et al. Pineapple Leaf Fibers for Composites and Cellulose. Mol Cryst Liq Cryst. 2010; 522(1):36/[336]–41/[341].
Keya K, Kona N, Koly F, Maraz K, et al. Natural fiber reinforced polymer composites: history, types, advantages, and applications. Mater Eng Res. 2019;1(2): 69–87.
Li J, Henriksson G,Gellerstedt G. Lignin depolymerization/repolymerization and its critical role for delignification of aspen wood by steam explosion. Bioresour Technol. 2007; 98(16): 3061– 68.
Sun Y,Cheng J. Hydrolysis of lignocellulosic materials for ethanol production: a review. Bioresource Technol. 2020; 83(1):1–11.
Mazalan MF, Yusof Y. Natural Pineapple Leaf Fibre Extraction On Josapine And Morris. In: Nik Hisyamudin MN, Amir K, Al Emran I, Mohd Rasidi I, Mohd Faizal MB, Mohd Azlis Sani MJ, et al., editors. [Digital Proceeding]. 8th International Conference on Mechanical and Manufacturing Engineering 2017 (ICME’17); 2017 July 22–23; Bella Vista Waterfront, Langkawi Kedah Malaysia; 2017. 1–6
Pickering KL, Efendy MGA,Le TM. A review of recent developments in natural fibre composites and their mechanical performance. Compos Part Appl Sci Manuf. 2016; 83:98–112.