การออกแบบและสร้างอุปกรณ์ช่วยในการจับยึดชิ้นงานสำหรับกระบวนการตัด แบบหลายขั้นตอนบนเครื่องตัดโลหะด้วยลวดไฟฟ้า

Main Article Content

กมลพงค์ แจ่มกมล
ปิยะพงษ์ ค้ำคูณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างอุปกรณ์ช่วยในการจับยึดชิ้นงานซึ่งใช้ร่วมกับปากกาจับชิ้นงานสำหรับการตัดชิ้นงานแบบหลายขั้นตอนบนเครื่องตัดโลหะด้วยลวดไฟฟ้า โดยชิ้นงานที่ใช้สำหรับ การออกแบบอุปกรณ์ช่วยในการจับยึดเป็นปลอกจับดอกสว่านแบบสปริง ซึ่งในการแปรรูปต้องทำการจับชิ้นงานเพื่อตัดส่วนที่เป็นกั่นจากนั้นจะต้องทำการสลับด้านและทำการหมุนชิ้นงาน 90 องศา เพื่อตัดในส่วนที่เป็นปลอกจับดอกสว่าน โดยอุปกรณ์ช่วยในการจับยึด เลือกใช้วัสดุเป็นแผ่นอลูมิเนียมและทำการแปรรูปเพื่อให้มีขนาดตามแบบงานโดยใช้เครื่องตัดโลหะด้วยไฟฟ้าและเครื่องกัดเป็นหลัก จากการทดลองเพื่อประเมินความสามารถของอุปกรณ์ช่วยในการจับยึดชิ้นงาน พบว่า สมรรถนะของกระบวนการจับยึดมีค่าสูงกว่า 1.330 โดยในส่วนของการตัดชิ้นงานในบริเวณที่เป็นกั่นและส่วนที่เป็นปลอกจับมีค่าสมรรถนะของกระบวน 1.852 และ 2.924 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าสมรรถนะของอุปกรณ์ช่วยในการจับยึดชิ้นงานที่ได้ออกแบบและสร้างขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์การใช้งานได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bicknell G, Manogharan G. A Comparison of the Effects of Wire Electrical Discharge Machining Parameters on the Processing of Traditionally Manufactured and Additively Manufactured 316L Stainless Steel Specimens. Proceedings of the ASME 2018 International Mechanical Engineering Congress and Exposition (IMECE2018); 2018 November 9-15; Pittsburgh, PA, USA; 2018. 1-6.

Gangil M, Pradhan MK, Purohit R. Review on modelling and optimization of electrical discharge machining process using modern techniques. Materials Today: Proceedings. 2017;4(2):2048-2057.

Wang Y, Chen X, Wang Z, et al. Fabrication of micro gear with intact tooth profile by micro wire electrical discharge machining. Mater Process Tech. 2018;252:137-147.

Bouquet J, Hensgen L, Klink A, et al. Fast production of gear prototypes–a comparison of technologies. Procedia CIRP. 2014;14:77-82.

Manoj IV, Narendranath S. Influence of machining parameters on taper square areas during slant type taper profiling using wire electric discharge machining. In IOP Conference Series: Materials Science and Engineering. 2021;1017(1):012012.

วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. วิธีทางสถิติเพื่อการพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2541.

บรรเลง ศรนิล, สมนึก วัฒนศรียกุล. ตารางคู่มืองานโลหะ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2553.

ฐปนนท์ อ่อนหวันวรกิจ, ศิโรรัตน์ พัฒนไพโรจน์. การเพิ่มกำลังการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โดยการเพิ่มความเร็วรอบในการผลิตของเครื่องจักร. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2562;(30):131-141.