เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 แจ้งเตือนทางแอพพลิเคชันไลน์

Main Article Content

ดอนสัน ปงผาบ
ปกรณ์ สันตกิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการสร้างเครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 และมีการแจ้งเตือนผลผ่านทางแอพพลิเคชันไลน์หลักการทำงานของเครื่องจะใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO เป็นตัวควบคุมการอ่านค่าจากเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ค่าอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ ในส่วนของการแจ้งเตือนจะแสดงบนจอแสดงผลและแจ้งเตือนเป็นสถานะไฟกระพริบสีเขียว สีเหลืองและสีแดง เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนและมองเห็นในระยะไกลได้ จากนั้นจะส่งค่าปริมาณฝุ่นที่วัดได้ให้กับ NodeMCUesp8266 เพื่อแจ้งเตือนปริมาณฝุ่นทางแอพพลิเคชันไลน์ตามเวลาที่กำหนดหรือเมื่อมีปริมาณฝุ่นในอากาศเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยคือ 100 ไมครอนหรือไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยใช้เซ็นเซอร์วัดฝุ่นแบบเลเซอร์รุ่น PMS5003 หลักการวัดปริมาณฝุ่นจะมีพัดลมขนาดเล็กดูดอากาศเข้ามาในตัวเซ็นเซอร์แล้วฉายแสงเลเซอร์ผ่านอนุภาคฝุ่นในอากาศ เมื่อแสงเลเซอร์กระทบกับฝุ่นทำให้แสงเกิดการกระเจิงจึงสามารถวัดปริมาณของละอองฝุ่นได้โดยสามารถวัดฝุ่นขนาด PM 1.0 PM 2.5 และ PM 10 ได้ในชุดเดียวกันมีหน่วยวัดเป็นไมครอน ซึ่งเซ็นเซอร์วัดฝุ่นใช้เวลาในการตรวจวัดน้อยกว่า 3 วินาที มีความละเอียดในการวัดอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่มากกว่า 0.5 ไมครอน มีประสิทธิภาพ 98% ในช่วงการวัด 0-500 ไมครอน จากการทดสอบและติดตั้งในอาคารฝึกปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เครื่องวัดฝุ่นแจ้งเตือนทางแอพพลิเคชันไลน์สามารถใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือสามารถวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ได้สามารถแจ้งเตือนทางแอพพลิเคชันไลน์และสามารถมองเห็นสัญญาณไฟเตือนในระยะไกลได้ถึง 20 เมตร โดยมีผลการวัดปริมาณฝุ่นเทียบกับเครื่องวัดฝุ่นของ Dust Boy ได้ค่าที่ใกล้เคียงกันไปในทิศทางเดียวกันและมีค่าผิดพลาดประมาณ 4.09%

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดอนสัน ปงผาบ, สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผศ.ดอนสัน ปงผาบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

ฐิฏาพร สุภาษี, พานิช อินต๊ะ, เสริมเกียรติจอมจันทร์ยอง และคณะ. การวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศด้วยเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองไร้สายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา. 2561; 2(1):65-78.

Jingli L, Yiran H, Lingjing L, et al. PM2.5 exposure perturbs lung microbiome and its metabolic profile in mice. Science of the Total Environment. 2020; 2020(721):137432.

อรประภา ภุมมะกาญจนะ, คิโยชิ ฮอนดะ. การตรวจติดตามคุณภาพอากาศแบบ Real-time ในสิ่งแวดล้อมเมืองโดยการใช้เครื่องตรวจวัดจากภาคพื้นดิน ชุดอุปกรณ์นาโนเทคโนโลยีแก๊สเซ็นเซอร์ชนิดทินออกไซด์ และภาพถ่ายดาวเทียมผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบอินเทอร์เน็ต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ. 2552.

สุดจิต ครุจิต, ธนัญชัย วรรณสุข, ชื่นจิตร ชาญชิตปรีชา และคณะ. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังฝุ่นละอองและคุณภาพอากาศแบบบูรณาการเพื่อสนับสนุนการจัดการคุณภาพอากาศในชุมชน. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: 2553.

อาทิตย์ ยาวุฑฒิ, สมศักดิ์ วรรณชัย, พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ และคณะ. การพัฒนาเครื่องวัดฝุ่นหลักการทางแสงและเปรียบเทียบผลการวัดกับเครื่องมือวัดมาตรฐาน. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 40: มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม. 2562. 481-484.

อาทิตย์ ยาวุฑฒิ, พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์, สาคร ปันตา และคณะ. เซ็นเซอร์หลักการทางแสงราคาถูกสำาหรับงานตรวจวัดฝุ่นละอองในอากาศ. การประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 3: 24-25 พฤษภาคม 2561;ลอฟท์ มาเนีย บูทีค โฮเทล จังหวัดชุมพร. 2561. หน้า 160-161.

อาทิตย์ ยาวุฑฒิ และ พานิช อินต๊ะ. เครื่องวัดและวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ 10 ในอากาศ. การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 9: พลังงานสีเขียว เพื่อโลกที่สดใส; 8-10 พฤษภาคม 2556; ชลพฤกษ์รีสอร์ท จังหวัดนครนายก. 2556.

Majid K, Gabrielle V, Liping W. Continuous monitoring of indoor environmental quality using an Arduinobased data acquisition system. Journal of Building Engineering. 2018; 2018(19):412–419.

Artit Y, Pisit W, Kitchar C, et al. Comparison of Particulate Matter Monitoring Using Beta Attenuation Monitor and Light Scattering Method in angkok Thailand. 33rd International Technical Conference on Circuits /Systems, Computers and Communications 2018 (ITC-CSCC 2018); 2018 July 4-7; Mandarin Hotel, Bangkok Thailand; 2018. 498–501.