อิทธิพลเถ้าชานอ้อยต่อความแข็งแรงอัดในการขึ้นรูปคอนกรีต
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลเถ้าชานอ้อยต่อความแข็งแรงอัดในการขึ้นรูปคอนกรีต โดยเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเถ้าชานอ้อยสำหรับอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง ในการดำเนินงานวิจัย เป็นการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง (DOE) ภายใต้การวิเคราะห์เชิงสถิติวิศวกรรมด้วยการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลเต็มรูปแบบ การออกแบบเชิงสถิติวิศวกรรมนี้ กำหนดพารามิเตอร์สำคัญ 2 พารามิเตอร์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์เถ้าชานอ้อย (%CBA) คือ 5, 15, 25 และ 35% กับระยะเวลาในการบ่มคอนกรีต (CC-time) คือ 7, 14 และ 28 วัน ที่มีต่อค่าความแข็งแรงอัด ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) บ่งชี้ว่า มีผลต่อค่าความแข็งแรงอัด (CS-value) ทั้งอิทธิพลหลักของพารามิเตอร์กับอิทธิพลร่วมกันระหว่างพารามิเตอร์ บทสรุปสุดท้ายเกี่ยวกับสภาวะที่เหมาะสมของงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าระดับของพารามิเตอร์ %CBA เท่ากับ 5% และระดับพารามิเตอร์ CC-time เท่ากับ 28 วัน จะที่มีอิทธิพลต่อการให้ได้มาซึ่ง CS-value สูงสุด เท่ากับ 275.3887 ซึ่งสามารถเทียบเป็นค่าความพึงพอใจได้สูงมากถึง 99.60%
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Ganesan K, Rajagopal K, Thangavel K. Rice husk ash blended cement: Assessment of optimal level of replacement for strength and permeability properties of concrete. Construct Build Mater. 2008; 22:1675-1683.
Paula MO, Tinoco IFF, Rodrigues CS, et al. Sugarcane bagasse ash as partial portland cement replacement material. Scielo. 2010; 77(163):47-54.
Kawade UR, Rathi VR, Vaishali D, et al. Effect of use of bagasse ash on strength of concrete, Int J Innovat Res Sci. 2013; 2(7).
Hailu B, Dinku A. Application of sugarcane bagasse ash as a partial cement replacement material. Journal of EEA. 2012;29.
Gar PS, Suresh N, Bindiganavile V. Sugar cane bagasse ash as a pozzolanic admixture in concrete for resistance to sustained elevated temperatures. Construct Build Mater. 2017;153:929-36.
Rukzon S, Chindaprasirt P. Utilization of bagasse ash in high-strength concrete. Mater Des. 2012;34:45-50.
วินิต ช่อวิเชียร. คอนกรีตเทคโนโลยี. ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์พาณิชย์; 2546.