การพัฒนาเทคนิคการติดตั้งแบบหล่อสำหรับเสาคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการติดตั้งแบบหล่อสำหรับเสาคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 250 x 750 มิลลิเมตร และศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของแบบหล่อที่พัฒนาขึ้นในโครงการก่อสร้างจริง ให้สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วและลดปัญหาที่เกิดจากการใช้แบบหล่อเสาทั่วไป จากผลการวิจัยพบว่า แบบหล่อที่พัฒนาขึ้นสามารถลดจำนวนจุดค้ำยัน ลดเวลาในการประกอบเสา และสามารถใช้ทาวเวอร์เครนยกและสวมลงในเหล็กเสริมของเสาได้โดยไม่เกิดการเสียรูป โดยเสาคอนกรีตที่ได้มีผิวเรียบไม่เกิดการโก่งหรือเสียรูปเนื่องจากแบบหล่อ เมื่อนำแบบหล่อเสาที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในโครงการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 8 ชั้นจำนวน 3 อาคาร มูลค่าการก่อสร้าง 408 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างเพียง 11 เดือน จำนวนเสาที่ต้องก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 144 ต้นต่อชั้น พบว่าแบบหล่อที่พัฒนาขึ้นสามารถต้านทานการเสียรูปได้ทั้งขณะยกติดตั้งด้วยทาวเวอร์เครน และการเทคอนกรีตลงในแบบหล่อ ได้เสาที่มีขนาดตามต้องการ ไม่เกิดการโก่งหรือเสียรูป ช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กในส่วนของการติดตั้งแบบหล่อได้ถึงร้อยละ 33 และสามารถลดต้นทุนด้านแบบหล่อ จุดค้ำยันและด้านแรงงาน ทำให้ลดระยะเวลาการก่อสร้างและช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
เอกสิทธ์ลิ้มสุวรรณ. แบบหล่อคอนกรีต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาลัย; 2546.
Yip R, Poon CS. Comparison of timber and metal formwork systems. Proceedings of the Institution of Civil Engineers - Waste and Resource Management. 2008; 161(1):29-36.
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวง มหาดไทย. คู่มือการออกแบบอาคารเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ. กรุงเทพฯ: สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง; 2558
Schipper H. Double-curved precast concrete elements. Research into technical viability of the flexible mould method; 2015
Peurifoy LR, Oberlender DG. Formwork for Concrete Structures 4th edition. The McGraw-Hill Companies; 2011
Ko CH, Kuo JD. Making formwork design lean. Journal of Engineering Project and Production Management. 2019; 9(1):29-47.
Brózda K, Selejdak J. Safety of Formworks in the Engineering and General Construction Sector. System Safety: Human-Technical Facility-Environment. 2019; 1(1): 284-90.
Rajeshkumar V, Anandaraj S, Kavinkumar V, et al. Analysis of factors influencing formwork material selection in construction buildings. Materials Today: Proceedings;2020.
Arumsari P, Xavier C. Cost and time analysis on the selection of formwork installation method. E&ES. 2020; 426(1): 12-42.
Hyun C, Jin C, Shen Z, et al. Automated optimization of formwork design through spatial analysis in building information modeling. Automation in Construction. 2018; 95(1):193-205.
Jean-Claude L. Formwork Pressures by Self-Compacting Concrete. Stellenbosch University. 2018:13-42
Giammatteo MM, Gregori A, Totani G. In -situ measurement of formwork pressures generated by Self-Compacting Concrete. WIT Transactions on Modelling and Simulation. 2007; 46(1):851-860.
Yaser G, Jonny N, Mats E, et al. Lateral Formwork Pressure for Self-Compacting Concrete—A Review of Prediction Models and Monitoring Technologies. MDPI stays neutral with regard to jurisdictional claims in published maps and institutional affil-iation. 2021; 14(1): 1-18.
Robert LP, Garold DO. Pressure of Concrete on Formwork. Formwork for Concrete Structures. 2011:7-148.
Ciribini A, Tramajoni M. High-Rise Towers an Integrated Approach between Climbing Formworks and Stationary Booms 18th. CIB World Building Congress Salford UK;2010