การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

Main Article Content

วินัย หล้าวงษ์
โยธิน นามโสรส
อภิวัฒน์ ด่านแก้ว
วีรพงค์ จุลศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากการขนย้าย และการรอคอยในกระบวนการ การขนส่งและการตรวจสอบ และการขัดเงาและการบรรจุ โดยการศึกษาเวลามาตรฐาน การคำนวณหารอบการจับเวลาด้วยวิธีการของเมย์แท็ก (Maytag) การหาค่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูล การวิเคราะห์การไหลของกระบวนการ รวมถึงหลักการวางผังโรงงาน ผลการวิจัย พบว่า รอบการจับเวลาที่เหมาะสม คือ 30 รอบ ที่ความน่าเชื่อมั่น 95% เวลามาตรฐาน  ในกระบวนการ การขนส่งและการตรวจสอบ หลังปรับปรุง เท่ากับ 90.83 วินาที ลดลง 24.35 วินาที (21.14%) เวลามาตรฐานในกระบวนการขัดเงาและการบรรจุ หลังปรับปรุง เท่ากับ 202.67 วินาที ลดลง 5.53 วินาที (2.65%) การวิเคราะห์การไหลของกระบวนการ พบว่า หลังปรับปรุงมีกระบวนการดำเนินงาน ระยะทางในการขนย้าย 42 เมตร ลดลง 23 เมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พงศ์เทพ งามทวีรัตน์. การวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กรณีศึกษา: บริษัท โฮยาเลนซ์ ไทยแลนด์ จำกัด. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2557.

คณิศร ภูนิคม. การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเทคนิคการปรับปรุงงาน กรณีศึกษา: โรงงานน้ำดื่มใบไผ่เขียว. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ; 12-15 กรกฎาคม 2560; เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560. น. 150-5.

กิตติชัย อธิกุลรัตน์. การศึกษาเวลามาตรฐานการติดตั้งแม่พิมพ์กรณีศึกษา บริษัทผลิตถุงพลาสติก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี; 2562: 17(1).77-90.

พรศิริ คำหล้า และคณะ. การศึกษาเวลามาตรฐานในกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จด้วยการจับเวลาโดยตรง. Industrial Technology Journal; 2564:6(2).41-51.

ลักษพล อุปะทะ. การออกแบบและวางผังโรงงานของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ที.เอ็น.สแตนเลส. [ปริญญาวิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน. การวิเคราะห์กระบวนการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2551. [สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565]. จาก: http://pirun.ku.ac.th/~fengcsr/courses/2008_01/206341/ch8.pdf.

จุลลดา จุลพันธ์ และคณะ. การศึกษาด้านเวลาของช่างในกระบวน การเปลี่ยนเครื่องยนต์. [ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว; 2553.

สมศักดิ์ ตรีสัตย์. การออกแบบและวางผังโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2548.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป; (2553).