การวิเคราะห์คุณลักษณะของมีดตัดโคนอ้อยที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วยหลักวิศวกรรมย้อนรอย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพมีดตัดโคนอ้อยที่นำเข้าจากต่างประเทศและเป็นที่นิยมใช้งานในประเทศไทยในฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 และการใช้เทคนิควิศวกรรมย้อนรอยเพื่อหาว่าวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร โดยมีดที่ทำการศึกษาในครั้งนี้เป็นมีดที่นำเข้าจากต่างประเทศ จำนวนว 3 ยี่ห้อ ๆ ละ 12 ใบ โดยนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย 1 ยี่ห้อ ใช้สัญลักษณ์ “P” และนำเข้าจากใต้หวัน 2 ยี่ห้อ ใช้สัญลักษณ์ “S” และ “K” เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย กล้องจุลทรรศน์สำหรับงานวัสดุ (Metallurgical Microscope) กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกวาด(Scanning Electron Microscope :SEM) เครื่องทดสอบความแข็ง (Universal Hardness Tester) เครื่องทดสอบการดูดซับแรงกระแทกแบบชาร์ปี (Charpy Impact test) และการทดสอบใช้งานจริงในไร่อ้อยในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ โดยรถตัดอ้อยยี่ห้อ John Deere รุ่น CH570 ผลการศึกษาพบว่า มีดตัดโคนอ้อยมีค่าความแข็งเฉลี่ยระหว่าง 44 – 47 HRC ค่าความทนทานระหว่าง 7 – 12 J สามารถตัดอ้อยได้ประมาณ 650 – 750 ตัน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุและโครงสร้างผลึกสามารถสรุปได้ว่า มีดตัดโคนอ้อยผลิตมาจากเหล็กในกลุ่มเหล็กสปริง เกรดมาตรฐาน SAE9260 หรือ JIS: SUP6,SUP7 โดยมีธาตุที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ ซิลิกอน(Si) ร้อยละ 1.2 – 2.0 และแมงกานีส (Mn) ร้อยละ 0.9 – 1.3 มีการใช้กระบวนการทางความร้อน (Heat treatment process) ในการปรับปรุงสมบัติเชิงกล และการชุบแข็งแบบเย็นตัวช้าถึงปานกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ขัยวัฒน์ เชาร์เจริญสุข. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566 :อุตสาหกรรมน้ำตาล.(ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565. จากhttps://www.krungsri.com/th/research/industry/industryoutlook/Agriculture/Sugar/IO/io-sugar-21
กรุงเทพธุรกิจ.[อินเตอร์เน็ต]. สมาคมชาวไร่อ้อย ร้องขอรับคนต่างด้าว แก้วิกฤตขาดแคลนแรงงาน. เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2565. จากhttps://www.bangkokbiznews.com/news/984815.
สุภาวดี เนินคนา. อ้อยโรงงาน. กลุ่มส่งเสริมการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรม. เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2565. จาก Http://www.agriman.
doae.go.th
วิศรุต ภักดีพันธ์, ชัชวาล สิริจรูญชัย, วีรวัฒน์ ทวิสกุลรัตน์ และเกียรติศักดิ์ ศรีตระกูลชัย. ศึกษาความเป็นไปได้ของการให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอต์เป็นเครื่องมัดวัดพิกัด 3 มิติ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพชรบุรี
Meyers Marc A, Chawla Krishan Kumar. Mechanical Behaviors of Materials. Prentice Hall. New Jersey, U.S.A. (1998).
ASTM G99-95, Standard Test Method for Wear Testing with a Pin-on-Disk Apparatus, ASTM International, West Conshohocken, PA, 2000.
S.N. Ojha. Microstructure Evolution and Origin of Surface Cracks Induced During Processing of Micro alloyed Steels. Proceedings of the 4th International Conference on Thermo-mechanical Simulation and Processing of Steels (SimPro ’16), 10-12 February 2016 : Ranchi, India.
Sylvester O. Omole , Akinlabi Oyetunji , Kenneth K. Alaneme and Peter A. Olubambi. Structural characterization and mechanical properties of pearlite –Enhanced micro-alloyed ductile irons. Journal of King Saud University – Engineering Sciences 32 (2020) 205–210.
ธานี ทุมประเสน. การศึกษาคุณสมบัติของวัสดุต่างชนิดกันที่เชื่อมด้วยวิธีเสียดทาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2556.
Siam Global Lubricant, Co., Ltd. ลักษณะการเย็นตัว ของ เหล็กชุบแข็ง ใน ของเหลว.[online] เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2565 จากhttp://www.sgl1.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539373950
Odabas D. Effects of Load and Speed on Wear Rate of Abrasive Wear for 2014 Al Alloy.IOP Conf. Series: Materials Science and Engineering 295 (2018) 012008
Mahesh, Vishwanath Koti, Kalyan Kumar Singh, Rabesh Kumar Singh.Experimental and statistical investigation on the wear and hardness behaviour of multiwalled carbon nanotubes reinforced copper nanocomposites, Wear, Volumes 500–501,202
ฉลอง ดอกยี่สุน, วชิราวุธ หอมทรัพย์. มาตรฐานเหล็กในงานอุตสาหกรรม.[online] เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2565 จากhttp://www.rtc.ac.th/www_km/02/027/225602/unit01.pp