เครื่องคัดแยกน้ำหนักและสีมะม่วงอัตโนมัติด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เนื่องจากมะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย มีตลาดส่งออก และส่วนใหญ่การคัดแยกจะเน้นคุณภาพและขนาด ซึ่งโดยทั่วไปการคัดแยกจะใช้มนุษย์เข้ามามีบทบาทในการคัดแยกเกรดผลไม้ชนิดต่างๆ โดยจะต้องมีต้นทุนสำหรับการจ้างงานดังกล่าวและข้อจำกัดสำหรับการคัดแยกผลไม้โดยมนุษย์นั่นคือระยะเวลาและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทางผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องมือคัดแยกมะม่วงอัตโนมัติด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ทั้งยังสามารถคัดแยกผลไม้อื่นๆได้อีกทางด้วย โดยเครื่องสามารถคัดแยกได้ 2 ส่วน คือน้ำหนักและสีของผลไม้ โดยการใช้สายพานในการลำเลียงและตรวจจับน้ำหนักด้วยโหลดเซลล์ ต่อมาสายพานจะลำเลียงต่อมาเพื่อวัดค่าสีหาความสุก ดิบของมะม่วง หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ Mega2506 จะทำหน้าที่ประมวลผลและสั่งเปิดช่องรับสำหรับคัดแยกมะม่วงตามที่กำหนดไว้ ผลการทดลองคัดแยกมะม่วงโดยวัดเป็นค่าความผิดพลาดโดยใช้ตัวอย่างมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยจำนวน 30 ลูก โดยมีผลการทดสอบคัดเกรดมะม่วงมีความผิดพลาด เท่ากับ 0.00% และการคัดแยกความสุก ดิบ มีความผิดพลาด เท่ากับ 0.00% ส่วนมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองจำนวน 30 ลูก โดยมีผลการทดสอบคัดเกรดมะม่วงมีความผิดพลาด เท่ากับ 93.33% และการคัดแยกความสุก ดิบ มีความผิดพลาด เท่ากับ93.33 %
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
วรวุฒิ กังหัน และคณะ.เครื่องคัดแยกเกรดแตงโมอัตโนมัติโดยใช้การตรวจวัดน้ำหนัก. วารสาร สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. 2563; 26(2):15-20.
ปฐมพงศ์ พรมมาบุญ และคณะ.การออกแบบและสร้างระบบสายพานลำเลียง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.2559; 9(1):14-21.
สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2565]. จาก: http://www.acfs.go.th
ธนชาต ศรีเปารยะ, อภิเดช บูรณวงศ์ และคณดิถเจษฎ์พัฒนานนท์.วิธีการทดสอบคุณภาพของกล้วยหอมทองโดยวิธีไม่ทำลายตัวอย่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2563; 39(5):560-571.
สุนทร ก้องสินธุ และคณะ. การออกแบบชุดทดลองคัดแยกสีอัตโนมัติบนระบบสายพานลําเลียง โดยโมดูลแยกสีอาดูโน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 2561;1(2):56-68.
กันตภณ พลิ้วไธสง.เครื่องคัดแยกสีอัตโนมัติบนระบบสายพานลําเลียงควบคุมด้วยอะดูโน.วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2559;5(1):15-21.