เครื่องควบคุมตู้ปลาอัตโนมัติด้วยไอโอที
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาพัฒนาเครื่องควบคุมตู้ให้อาหารปลาอัตโนมัติด้วยไอโอที เพื่อเพิ่ม ความสะดวก ควบคุมปริมาณการให้อาหาร และลดเวลาในการเฝ้าสังเกตปลา เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ 1) เครื่องควบคุมตู้ปลาอัตโนมัติ และ 2) แอปพลิเคชั่นการใช้งานเครื่องให้อาหารปลา วัดคุณภาพของน้ำ และระบบเฝ้าสังเกตพฤติกรรม โดยเครื่องควบคุมตู้ปลาอัตโนมัติการออกแบบเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ระบบ servo moter ปล่อยอาหาร ชุดเซนเซอร์วัดระดับอาหาร ชุดเซ็นเซอร์ตรวจจับคุณภาพน้ำเซ็นเซอร์ TDS และชุดโมดูลกล้อง ส่วนแอปพลิเคชั่นการให้อาหารออกแบบใน 2 ฟังก์ชัน คือ การควบคุมด้วยตนเองและระบบอัตโนมัติโดยแอปพลิเคชั่นให้อาหารปลาแบบ 3 เวลา สื่อทั้งสองสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเซิร์ฟเวอร์ Blynk การทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการให้อาหารปลาใน 3 เวลาไม่มีความผิดพลาด และอาหารที่ปล่อยในแต่ละครั้งมีปริมาณ 1 กรัม คิดเป็น 81 เปอร์เซ็น ซึ่งเป็นปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการกินอาหารของปลา ดังนั้น เครื่องควบคุมตู้ให้อาหารปลาอัตโนมัติด้วยไอโอทีสามารถใช้เป็นต้นแบบเครื่องให้อาหารปลา และประยุกต์ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์การผลิตเชิงพาณิชย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ยุติธรรม ปรมะ และวศิน โชติ.การพัฒนาต้นแบบเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติโดยใช้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.2564;13(18):75-88.
กรมประชาสัมพันธ์ [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ.กรมประชาสัมพันธ์;2563[เข้าถึงเมื่อ 2 ม.ค. 2566].เข้าถึงได้จาก: http://km.prd.go.th/iot-platform/
จักรพนธ์ อบมา, พลวัตน์ พรหมสร้างมิ่ง, นิวัตร์ อังควิศิษฐพันธ์ ,อดิศร นวลอ่อน, สมชาติ โสนะแสง.ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำสำหรับตู้ปลาสวยงามโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์ของสรรพสิ่ง.วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม.2566;16(1):26-33.
ธรัช อารีราษฎร์, วรปภา อารีราษฎร์.ระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์.วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.2563;6(1):7-17.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์.อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษาInternet of Things on Education.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม.2559;4(2):83-92.
กอบเกียรติ สระอุบล. พัฒนา IoT บนแพลตฟอร์ม Arduino และ Raspberry Pi . กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ อินเตอร์มีเดีย;2561.
กรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ.การประปาส่วนภูมิภาค;2563[เข้าถึงเมื่อ 25 ม.ค. 2566].เข้าถึงได้จาก: https://wr.pwa.co.th/data/_uploaded/file/Law/Department_of_Health_DrinkingWaterQuality2563.pdf
พรวนา รัตนชูโชค.การพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ IoT เพื่อติดตามคุณภาพน้ำผ่านแอปพลิเคชัน.วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2562;11(1):78-92.
Izzeldin I. Mohd, Nurul Hikmah Binti Azizan, Nazar Elfadil.Design and Development of Microcontroller Based Automatic Fish Feeder System. IJESC.2020; 10(4) : 25380-25383.
Ratnasari, D., Mardhiyyah, R., & Pramudwiatmoko, A. 2020. IoT Prototype Development of Automatic Fish Feeder and Water Replacement. International Journal of Engineering, Technology and Natural Sciences, 2 (2): 51-55
จิรวัฒน์ แท่นทอง, สุภลักษณ์ ตาแก้ว, กนกลักษณ์ ศรพระขรรค์ชัย.การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมเครื่องให้อาหารสัตว์เลี้ยงด้วยการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง.Journal of Information Science and Technology.2562;9(1):28-40
Emmanuel Gbenga Dada, Nnoli Chukwukelu Theophine, Adebimpe Lateef Adekunle.Arduino UNO Microcontroller Based Automatic Fish Feeder. The Pacific Journal of Science and Technology.2018;19(1):168-174.
ชนาภา เทพเสนา, อาทิตย์ คูณศรีสุข, สมร พรชื่นชูวงศ์. การพัฒนาระบบการให้อาหารปลาแบบอัตโนมัติสำหรับการเลี้ยงปลนิล.วารสารแก่นเกษตร. 2565;50(1):124-137.
สุปติ ศิริขอนแก่นและสาธิต อดิตโต.ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจร้านค้าปลาสวยงามในจังหวัดขอนแก่น.วารสารเกษตรพระวรุณ.2563;17(1):137-146
สมพล สุขเจริญพงษ์, กสมล ชนะสุข, ศานติดิฐ สถาพรเจริญและวีรศักดิ์ นาชัยดี. การส่งเสริมและ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการสงออกในจังหวัดนครปฐม.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน.2558;21(2):203-214