การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียในช่องปากของสารสกัดต้นขลู่เพื่อพัฒนาตำรับยา สีฟันสมุนไพร Study on Antibacterial Activity in Bacterial Cavity of the Extraction from Pluchea indica (Linn.) for Development of Herbal Toothpaste Formulation

Main Article Content

ดวงสุรีย์ แสนสีระ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียในช่องปากของสารสกัดต้นขลู่เพื่อพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพร โดยศึกษาสารสกัดส่วนเหนือพื้นดินของต้นขลู่ด้วยเอทานอล ศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Streptococcus mutans ด้วยวิธี Disk diffusion method และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) Streptococcus mutans โดยวิธี Broth microdillution ของสารสกัดตัวอย่าง ศึกษาการประเมินคุณภาพทางเคมีและทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพร และศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ของอาสาสมัครด้วยแบบสอบถาม พบว่า ผลการศึกษาการสกัดสารสกัดหยาบส่วนเหนือพื้นดินของต้นขลู่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ผลผลิต  (% Yield) ได้เท่ากับ 1.82 % (w/w) ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ของสารสกัดตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Erythromycin ด้วยวิธี Disc Diffusion พบว่าที่ระดับความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่างที่ 1,000 mg/mL สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ได้ โดยวัดขอบเขตการยับยั้งได้เท่ากับ 7.10 ± 0.20 mm เมื่อเทียบกับยามาตรฐาน Erythromycin พบว่ายามาตรฐาน Erythromycin ที่ระดับความเข้มข้นเท่ากับ 0.15 mg/mL สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ได้ โดยวัดขอบเขตการยับยั้งได้เท่ากับ 23.90 ± 0.36 mm ผลการทดสอบการหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้ง (MIC) เชื้อแบคทีเรีย S. mutans ของสารสกัดขลู่เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Erythromycin โดยวิธี Broth microdillution พบว่าสารสกัดขลู่ไม่สามารถหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ได้ ส่วนยามาตรฐาน Erythromycin สามารถหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ได้เท่ากับ 10.94 mg/mL ผลการประเมินคุณภาพทางเคมีและทางกายภาพ เมื่อทดสอบที่สภาวะเร่ง พบว่า ความเป็นเนื้อเดียวกัน, กลิ่นของยาสีฟันสมุนไพรทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบการเปลี่ยนแปลง ส่วนสีของยาสีฟันสมุนไพรทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงโดยสีจางลงจากเดิมเล็กน้อย  การทดสอบค่าความเป็นกรด - เบส) ของผลิตภัณฑ์ ทั้ง 2 กลุ่ม มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีค่า pH ลดลงเพียงเล็กน้อย  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผลการประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ของอาสาสมัครผู้ใช้ยาสีฟันสมุนไพร พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ และในด้านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หลังทดลองใช้พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจยาสีฟันสมุนไพรขลู่มากกว่ายาสีฟันสมุนไพรพื้นฐาน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปิยะวดี โพธิรักษานนท์. การดูแลสุขภาพช่องปาก ทำให้สุขภาพกายแข็งแรงจริงหรือ. ฟันดีชีวีมีสุข.

เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2562. เว็บไซต์ http://www.dentistry.kku.ac.th/dt2008/booklife/51.pdf

ภทรพรรณ อุณาภาค และสิริรัตน์ ราษฎร์ดุษดี. การพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพร. โครงการปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต. คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล. 2549; 66 หน้า.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ขลู่ (Khlu) [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ป.) เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2557. เว็บไซต์ http://www.phargarden.com/main.php?Action= viewpage&pid=24

Ahem SA, Kamel EM. Phenolic constituents and biological activity of the genus pluchea. 2013. Der PharmaChemica

[Internet] 2013 [cited 2014 Sep 7]; 5(5): 109-114. Available from: http://derpharmachemica.com/vol5-iss5/DPC-2013-5-5-109-114.pdf

Andarwulan N, Kurniasih D, Apriady RA, Rahmat H, Roto AV, Bolling BW, Polyphenols, carotenoids and ascorbic acid in underutilized medicinal vegetables. J Funct Foods. 2012; 4 : 339-347.

Rosilda AH, Erazuliana AK, Zuraini N, Anti-inflammatory and antinociceptive activities of the ethanolic extract of Pluchea indica (L) Less. Leaf. 2008. Pharmacogyonline [Internet] [cited 2014 Sep 8] ; 2 : 349-360. Available from

http://pharmacologyonline.silae.it/files/archives/2008/vol2/31_Hamid.pdf

Mohamad S, Zin NM, Wahab HA, Ibrahim P, Sulaiman SF, Zuhariluddin ASM. Antituberculosis potential of some ethanobotanically

selected Malaysian plants J Enthamopharmacol. 2011; 133 : 1021-1026.

Cho JJ, Cho CL, Kao CL, Chen CM, Tseng CN, Lee YZ. Crude aqueous extracts of Pluchea indica (L.)Less. inhibit proliferation and migration of cancer cells through induction of p53-dependent cell death. 2014. BMC Complement Altern Med [Internet] [cited 2014 Sep 8]; 12 : 265-276. Available from http://www.biomedcentral.com/1472-6882/12/265

Teanpaisan R. Bacteria and common infectious diseases in the oral cavity. 1st ed. Songkhla: IQ media. 2009; 313 p.

พิมพา สมอุราสุข. การประยุกต์ใช้สารสกัดจากใบขลู่ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์. ปัญหาพิเศษ. สายวิชาวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และ

วิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2551; 86 หน้า.