อิทธิพลของรูปแบบการเชื่อมที่มีผลต่อความแข็งของเหล็กหล่อโครเมียมสูง Fe-16Cr-2Mo ที่มีการเติมซิลิคอน

Main Article Content

กฤช รุนรักษา
สำเภา โยธี
ปริญญวัตร ทินบุตร
นายพิสิฐชัย โคสะสุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของชั้นแนวเชื่อมที่ส่งผลต่อสมบัติความแข็งของเหล็กหล่อโครเมียมที่มีการเติมซิลิคอน 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมพอกแข็งชิ้นงานที่เสียหาย ชิ้นทดลองถูกนำไปอบอ่อนที่อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยชิ้นงานสำหรับทดลอง 4 รูปแบบ จะถูกเชื่อมด้วยลวดเชื่อม MG 750 W และลวดเชื่อม 450 R จากนั้นทดสอบความแข็งแบบวิกเกอร์และวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค ผลการทดลองพบว่าการเชื่อมแบบหนึ่งชั้นและแบบสองชั้นแนวเชื่อมด้วยลวดเชื่อม 450R พบโครงสร้างคาร์ไบด์ชนิด M7C3 และ M23C6 ซึ่งให้ค่าความแข็งที่สูงกว่าการเชื่อมด้วยลวดเชื่อม 750 W ที่พบคาร์ไบด์ส่วนใหญ่เป็นชนิด M23C6  การเชื่อมแบบสองชั้นส่งผลให้ค่าความแข็งบริเวณเขตกระทบร้อนมีแนวโน้มที่สูงกว่าการเชื่อมแบบชั้นเดียวเนื่องจากการที่เขตกระทบร้อนได้รับความร้อนซ้ำจากการเชื่อมเทียบได้กับกระบวนการอบคืนตัว เกิดการตกตะกอนของคาร์ไบด์ (Carbide precipitation) บริเวณเนื้อพื้น ในส่วนของชนิดวัสดุตามปริมาณซิลิคอนที่เติม พบว่าความแข็งเพิ่มขึ้นในชิ้นงานที่เติมซิลิคอน 0.5 – 1.5 เปอร์เซ็นต์ และค่าความแข็งลดลงเมื่อปริมาณซิลิคอนเพิ่มขึ้นเป็น 2% ทั้งบริเวณเนื้อโลหะเชื่อมและบริเวณเขตกระทบร้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Gucwa M, Bęczkowski R, Winczek J, Wyleciał T. The Effect of Type of Welding Sequence During Hardfacing Chromium Cast Iron for Erosion Resistance . Archives of foundry Engineering .2017; 17(3): 51-54.

Kosasu P, Inthidech S, Srichareonchai P Yasuhiro M. Effect of Silicon on Subcritical Heat Treatment Behavior and Wear Resistance of 16 wt% Cr Cast Iron with 2 wt% Mo. Journal of Metals, Materials and Minerals. 2012;22(2):89-95.

Mician M, Konar R, Hlavaty I. Winczek J, M. Gucwa The Repair of Foundry Defects in Steel Castings Using Welding Technology .Archives of foundry Engineering .2018; 18(2): 177-180.

Xinghui L, Welding Repair of High Chromium Cast Iron Defects. Key Engineering Materials .2019;814:229-232.

ทวี หมัดส๊ะ, ปิยะวรรณ สูนาสวนม, อรจิตร แจ่มแสง. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สคลุมและ สมบัติของโลหะเชื่อมพอกแข็งเหล็กหล่อสีเทา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี 2019;17(1) :103-113.

กิตติพงษ์ กิมะพงศ์, สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์, สุริยา ประสมทอง และคณะ. อิทธิพลของการรองพื้นและการพอกผิวแข็งต่อสมบัติทางกล ของโลหะเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน JIS-S50C. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. 2016; 14(1): 77-86.

American Welding Society. Welding Handbook Ninth Edition Volume 4 material and application, Part 1. Miami: Printed in the United States of America; 2011.

H. Wang and S. Yu Influence of heat treatment on microstructure and sliding wear resistance of high chromium cast iron electroslag hardfacing layer.Surface & Coatings Technology.2017;319:182–190.

Zixiang L , Yinan C , Jie W, et al. Characterization of Microstructure and Mechanical Properties of Stellite 6 Part Fabricated by Wire Arc Additive Manufacturing. Metals. 2019: 9:474.

Wieczerzak k, Bała p, Stępien m, et al. The characterization of cast Fe-Cr-C alloy charakterystyka stopu Fe-Cr-C W stanie lanym archives of metallurgy and materials. 2015; 60: 779-782.

Kosasu P , Inthidech S Effect of Silicon on Abrasive Wear Behavior of Heat-Treated 16% Cr - 2% Mo Cast Iron RMUTI JOURNAL Science and Technology.2019; 12 (1):42-56.

Inthidech S, Boonmak K, Sricharoenchai P, et al. Effect of Repeated Tempering on Hardness and Retained Austenite of High Chromium Cast Iron Containing Molybdenum Materials Transactions. 2010; 51(7): 1264- 127