การทดลองหาประสิทธิภาพและการพัฒนาเครื่องทำน้ำข้าวกล้องงอกกึ่งอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มผลผลิตและประหยัดพลังงาน

Main Article Content

รัชดาศักดิ์ สุเพ็งคำ
สุทธิพงษ์ จำรูญรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาเครื่องทำน้ำข้าวกล้องงอกกึ่งอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มผลผลิต และประหยัดพลังงาน ทดลองหาประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบเครื่องที่พัฒนาขึ้นกับเครื่องแบบเดิม วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อลดขั้นตอนในการผลิตน้ำข้าวกล้องงอก และเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นในแต่ละครั้งของการผลิต ดังนั้นการทำให้ข้าวกล้องที่ผ่านกรรมวิธีการสีเพียงครั้งเดียวนั้น ส่งผลทำให้ข้าวที่เหลือยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ครบถ้วน ทำให้ยังคงวิตามินแร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร น้ำข้าวกล้องจึงเป็นทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นิยมบริโภคซึ่งมีรสชาติอร่อย และคุณค่าทางอาหาร ดังนั้นบทความนี้จึงได้มีการพัฒนาเครื่องทำน้ำข้าวกล้องงอกกึ่งอัตโนมัติ โดยกำหนดขอบเขตกำลังการผลิตให้ได้กำลังการผลิต15ลิตรต่อครั้ง ซึ่งจะมีระบบสั่งการทำงานด้วยตู้ควบคุมการทำงานของเครื่องทำน้ำข้าวกล้องงอกกึ่งอัตโนมัติ และยังสามารถแก้ไขคำสั่งการทำงานของฮีตเตอร์ และทามเมอร์ได้ และมีการประหยัดพลังงานอีกด้วย ส่วนผลลัพธ์ประสิทธิภาพของเครื่องที่พัฒนาขึ้นมามีความเสถียรในการทำงาน และมีประสิทธิภาพกว่าเครื่องเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แสงมณี เกิดพงษ์. การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำข้าวกล้องงอกจากข้าวหอมแม่พญาทองดําผสมน้ำนมถั่วเหลือง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี; 2565.

Ren C, Hong B, Zheng X, et al. Improvement of germinated brown rice quality with autoclaving treatment. Food Science & Nutrition. 2020; 8(3): 1709–1717.

Kim H, Kim OW, Ahn JH, et al. Metabolomic Analysis of Germinated Brown Rice at Different Germination Stages. Foods. 2020; 9(8): 1-10.

Parnsakhorn S, Langkapin J. Effects of drying temperatures on physicochemical properties of germinated brown rice. Songklanakarin Journal of Science and Technology. 2018; 40 (1): 127-134.

Patil SB, Khan MK. Germinated brown rice as a value added rice product: A review. Journal of Food Science and Technology. 2011; 48(6): 661-667.

Tachasirinukun P. The Development of Germinated Brown Rice Milk Fortified with Soybean. Vocational Education Central Region Journal. 2017; 1(2): 66-71.

Banchuen J. Bio-active Compounds in Germinated Brown Rice and Its Application. [dissertation]. Songkhla: Songkla University; 2010.

Bolarinwa IF, Lim PT, Muhammad K. Quality of gluten-free cookies from germinated brown rice flour. Food Research. 2019; 3(3): 199-207.

เจนจิรา จรรยา. การออกแบบและพัฒนาเครื่องแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

เจนจิรา จรรยา, เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา, จักรมาส เลาหวณิช, และคณะ. การออกแบบและพัฒนาเครื่องแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกในขั้นตอนเดียว. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. 2020; 26(1): 44-51.

Chungcharoen T, Sansiribhanb S, Munsin R, et al. Influence of Germinated Brown Rice Production by Water Spraying Method on Its Qualities. Current Applied Science and Technology. 2023; 23(3): 1-11.

Douglas C.Montgomery,Design and analysis of experiments.Hoboken, N.J.:John Wiley & Sons, 2005.