การเพาะเลี้ยงเมล็ดและผลของ BA และ NAA ต่อการพัฒนาเป็นต้นอ่อนที่สมบูรณ์ของเอื้องเทียนสามดอก

Main Article Content

เกศริน หยี่
ธวัชชัย ทรดี
อติกานต์ ปล่อยทุม
Jiraporn Nikomtat

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เติมน้ำตาลซูโครสที่ความเข้มข้นเหมาะสมต่อการพัฒนาไปเป็นโปรโตคอร์ม และตรวจสอบผลของสูตรอาหารที่เติม BA และ NAA ต่อการพัฒนาเป็นต้นที่สมบูรณ์ของกล้วยไม้เอื้องเทียนสามดอก (Coelogyne viscosa Rchb.f.) นำเมล็ดกล้วยไม้เอื้องเทียนสามดอกมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS และ 1/2MS ที่เติมน้ำตาลซูโครสความเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับ 15, 20 และ 30 กรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 และ 12 สัปดาห์ บันทึกค่าคะแนนการเกิดโปรโตคอร์ม ตั้งแต่ 0 ถึง 5 คะแนน จากนั้นศึกษาสูตรอาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 1, 2 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0, 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 9 สัปดาห์ โดยเพาะเลี้ยงภายใต้ความเข้มแสง 3,000 ลักซ์ ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design CRD) ผลการศึกษาพบว่า อาหารสูตร 1/2MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 20 กรัมต่อลิตร เป็นสูตรอาหารเหมาะสมต่อการพัฒนาเมล็ดไปเป็นโปรโตคอร์ม เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ แสดงค่าคะแนนการเกิดโปรโตคอร์มเท่ากับ 5.00±0.00 จากนั้นศึกษาสูตรอาหารที่เติม BA ร่วมกับ NAA พบว่าอาหารสูตร 1/2MS เติม BA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ต้นอ่อนมีการพัฒนาไปเป็นต้นสมบูรณ์ดีที่สุด โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสูตรอาหารอื่น งานวิจัยนี้จึงเป็นการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยการใช้เมล็ดซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการอนุรักษ์กล้วยไม้ไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร หงส์ทองคำ, รชยา พรมวงศ์ และสุรชัย รัตนสุข. (2560). การขยายพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด โดยเทคนิคเมล็ดเทียม. SDU Research Journal, 10(3), 187-201.

จรัญ มากน้อย, นาวิน อินทกูล, และเกรียงไกร อินทำมา. (2562). รายชื่อพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ. พิษณุโลก: บริษัท โฟกัส พริ้นติ้ง จำกัด.

จุฑารัตน์ กรดสัน ศุทธิณัฎฐ์ สุนทรกลัมพ์ และปวีณา แก้วอุบล. (2562). ผลของไคโตซานต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของโพรโทคอร์มกล้วยไม้เอื้องเทียนส้ม (Coelogyne brunnea Lindl. (Orchidaceae). แก่นเกษตร, 47(1), 141-150.

ฉัตราพร แก้วสาร, สุรเชษฐ เอี่ยมสำอาง, และกาญจน์ คุ้มทรัพย์. (2558). ผล BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของโปรโตคอร์มกล้อยไม้ไอยเรศ (Rhynchostylis retusa (L.) Blume) ในสภาพปลอดเชื้อ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 71-75.

นวลทิพย์ ชัยลิ้นฟ้า, เบ็ญจา บำรุงเมือง และ จีระนันท์ ตาคำ. (2553). การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองไทย (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ปริมลาภ (วสุวัต) ชูเกียรติมั่น, คมกฤช ชูเกียรติมั่น, เสริมลาภ วสุวัต, ทวีศักดิ์ บุญเกิด, อบฉันท์ ไทยทอง และมานิต คิดอยู่. (2542). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 13. กรุงเทพ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

ศุภาวีร์ แสงจันทร์จิรเดช และจักรพงค์ แท่งทอง. (2558). การเพาะเมล็ดเอื้องดอกมะขาม (Dendrobium delacourii Guillaumin) ในสภาพปลอดเชื้อ. SDU Research Journal, 8(1), 109-118.

สุมิตรา สุปินราช และอิศร์ สุปินราช. (2557). ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของของต้นกล้าเอื้องผึ้งในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์บรูพา, 19(2), 84-92.

องอาจ ตัณฑวณิช. (2561). กล้วยไม้ในเมืองไทย. สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_85112.

อัญชลี จาละ และยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ. (2557). ความเข้มข้นของเจลไรต์น้ำตาลและมุมเอียงลาดในการปักชิ้นส่วนบนอาหารต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของต้นพรมมิในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(3), 358-365.

อารักษ์ จันศิลป์ และรัตนา หิรัญพันธุ์. (2549). การเก็บรักษากล้วยไม้ม้าวิ่ง (Doritis pulcherrima Lindl.) ในหลอดทดลอง โดยการเก็บรักษาเมล็ดและวิธีชะลอการเจริญเติบโต (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Takano, T., Oyamada, T., & Hira, J. (1990). Improvement in nutrient composition of culture medium for growth and multiplication of PLB in Cymbidium. Proc. of Nagoya Intl. Orch. Cong, 95-101.