การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ชลธิดาวรรณ เด่นไชยรัตน์ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กนกพร นทีธนสมบัติ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ทวีศักดิ์ กสิผล สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การควบคุมน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ การศึกษามี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 สิ่งกระตุ้นจากการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 2 การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ ขั้นตอนที่ 3 ระยะนำสู่การปฏิบัติ และ ขั้นตอนที่ 4 การนำแนวปฏิบัติไปใช้จริง ซึ่งได้จากการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้จำนวนทั้งหมด 20 เรื่อง โดย ผู้วิจัยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วยการประเมินพฤติกรรมการควบคุม ด้านอาหาร ออกกำลังกาย และการประเมินความเครียด โดยแจกสมุดบันทึกแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาล ไม่ได้ เพื่อใช้บันทึกการรับประทานอาหาร คำนวณแคลอรี่ที่ควรได้รับในแต่ละวันตามน้ำหนักตัวของแต่ละคน การรับประทาน อาหารให้ครบ 5 หมู่ บันทึกการออกกำลังกายติดต่อกันครั้งละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และบันทึก กิจกรรมการจัดการความเครียดเป็นประจำทุกวัน ติดตามอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์เป็นประจำทุกวัน และประเมินระดับ น้ำตาลปลายนิ้วหลังงดอาหาร 8-10 ชั่วโมง ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 ระยะที่ 2 ศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า หลังการ ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมด้านอาหารและการออกกำลังกายมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ .05 ด้านการประเมินความเครียดพบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีคะแนนระดับความเครียดน้อย จำนวน 20 คน และหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ จำนวน 16 คน มีระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วขณะอดอาหาร 8-10 ชั่วโมง น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

References

Fernandes JR, Ogurtsova K, Linnenkamp U, Zhang P, Cavan D, Makaroff LE. IDF Diabetes Atlas estimates of 2014 global health expenditures on diabetes. Diabetes Res Clin Pract 2016;117:48-54.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อนม, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการ รับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 28 (2):93-103.

สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้ 2560;4(1):191-204.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการ จัดการโรคเรื้อรัง. วารสารสงขลานครินทร์ 2560;37(2) :154-9.

ปิยะสกล สกลสัตยาทร. โรคไม่ติดต่อเรื้อรังคร่าชีวิต 37 คน ทุก ๆ ชม. ส่วนใหญ่วัยทำงาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.thaipost.net/main/detail/14968

ขวัญหทัย ไตรพืช, พรทิพย์ มาลาธรรม, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, วิศาล คันธารัตนกุล. การออก กําลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2555; 19 (2):39-48.

เพรียวพันธุ์ อุสาย, นิรมล เมืองโสม, ประยูร โกวิทย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555;5(3) :11-20.

พัชรินทร์ ชนะพาห์, พิศมัย กิจเกื้อกูล. ความเครียดกับ กลุ่มอาการเมตาบอลิก. สงขลานครินทร์เวชสาร 2556;32(5):253-60.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยและสำนักหลักประกันแห่งชาติ. ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก : https:// www.dmthai.org/index.php/understand-diabetes/diabetes-2

Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000;35(2):301-9.

นันทวัน ยิ้มประเสริฐ, ชฎาภา ประเสริฐทรง, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ การจัดการพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารเกษมบัณฑิต 2558;16(2):61-81.

อภิชาติ กตะศิลา, สุกัญญา ลีทองดี, ประเสริฐ ประสม รักษ์. ผลของโปรแกรมการใช้สมุดบันทึกทางคลินิกร่วม กับแรงสนับสนุนจากเพื่อนเบาหวานต่อพฤติกรรมการ ดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัด ยโสธร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี 2560;19(1):233-43.

มาดีฮะห์ มะเก็ง, ปิยะนุช จิตตนูนท์, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพตามวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการควบคุม โรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วย เบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และ มีโรคร่วม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38 (1):46-62.

ฮามีด๊ะ แว, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติ การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการควบคุมอาหารต่อพฤติกรรม การควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วย เบาหวานมุสลิมที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;10(3) :103-115.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

เด่นไชยรัตน์ ช., นทีธนสมบัติ ก., & กสิผล ท. (2020). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 6(2), 46–57. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/243677