ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้

ผู้แต่ง

  • นพาภรณ์ จันทร์ศรี สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กนกพร นทีธนสมบัติ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ทวีศักดิ์ กสิผล สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โปรแกรมที่ใช้พัฒนามาจากแนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์และแกลิค-บายส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ใน เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 40 คน ที่ได้รับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ร่วมกับการรักษาพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการ รักษาพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรม สุขภาพและโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพโดยการหา ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา มีค่าเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย คะแนนพฤติกรรมสุขภาพ (Mean=2.52, SD=.173) มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (Mean=2.15, SD=.366) และมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบ (Mean=2.04, SD=.219) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ < .001 (p-value < .000) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต ซีสโตลิคและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตไดแอสโตลิคหลังทดลองต่ำกว่าก่อนทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ < .001 (p-value < .000)

References

World Health Organization. Hypertension statistics. [Internet]. 2019 [cited 2019 September 30]. Available from: https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/hypertension

สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารสุข; 2557.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติจำนวนอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราความชุกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พ.ศ. 2550-2554. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/health_statistic2558.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 31 ส.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/guideline.html

Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods. APA 1991;52(1):305-60.

ขนิษฐา สารีพล, ปัทมา สุริต. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33 (3):110-16.

จันทร์จิรา สีสว่าง, ปุลวิชช์ ทองแตง, ดวงหทัย ยอดทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557;20 (2):179-92.

สุพัตรา สิทธิวัง, ศิวพร อึ้งวัฒนา, เดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร 2563;47(2):85-97.

จันทร์เพ็ญ หวานคำ, ชดช้อย วัฒนะ, ศิริพร ขัมลิขิต. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรม การควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2558;42(1):49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

จันทร์ศรี น., นทีธนสมบัติ ก., & กสิผล ท. (2020). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 6(2), 58–68. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/243679