คุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี ของสารสกัดหยาบจากใบต้นจำปีและจำปา

ผู้แต่ง

  • ศรมน สุทิน สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • พัชรี ภคกษมา สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ กลุ่มวิชาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • นพวัฒน์ เพ็งคำศรี กลุ่มวิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1, การต้านอนุมูลอิสระ, บิวทิเลต, ไฮดรอกซิลโทลูอีน, จำปี, จำปา

บทคัดย่อ

กลุ่มผู้วิจัยได้ศึกษาคุณสมบัติของสารสกัดหยาบจากใบต้นจำปี (Michelia alba) และจำปา (Michelia champaca) ด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ คือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเมทานอล ตัวอย่างในการวิเคราะห์ คือ ใบจากต้นจำปีและจำปาที่เก็บได้จากช่วงเดือนมกราคม เมษายน และมิถุนายน ในปี พ.ศ. 2559 โดยนำมาทดสอบการ ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH scavenging assay ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดหยาบในเมทานอลจากใบต้นจำปีและ จำปาที่เก็บใบทั้ง 3 ช่วงเวลา มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดหยาบจากใบต้นจำปีและจำปาในเฮกเซนและเอทิล อะซิเตท เมื่อเปรียบเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน BHT พบว่า สารสกัดหยาบจากใบต้นจำปาที่เก็บในเดือนมกราคม และมิถุนายนมีค่า IC50 เท่ากับ 0.018+0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารต้าน อนุมูลอิสระมาตรฐาน BHT ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 0.048 + 0.002 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้พบว่าสารสกัดหยาบใน เอทิลอะซิเตทของใบต้นจำปาที่เก็บในเดือนมกราคมมีฤทธิ์การยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1 ซึ่งวัดได้ด้วยวิธีทดสอบ MTT มีค่าการยั้ง IC50 เท่ากับ 13.51+1.12 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยสารสกัดจากใบต้นจำปีและ จำปาที่ความเข้มข้นในช่วงเดียวกับที่ใช้ทดสอบเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1 ไม่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ท่อน้ำดีปกติชนิด MMNK-1 จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจำปีและจำปามีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและยับยั้ง การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การศึกษานี้มีประโยชน์ในการเป็นทางเลือกในการพัฒนายาต้านมะเร็งในอนาคต อย่างไร ก็ตามกลไกในการต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดียังคงต้องศึกษาต่อไปในอนาคต

References

คณิตา เลขะกุล. ไม้ดอกและไม้ประดับ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด; 2536

Silalahi M, Nisyawati W, Walujo EB, Supriatna J, Mangun W. The local knowledge of medicinal plants trader and diversity of medicinal plants in the Kabanjahe traditional market, North Sumatra, Indonesia. J Ethnopharmacol 2015;175:432-43.

Chiang HM, Chen HC, Lin TJ, Shih IC, Wen KC. Michelia alba extract attenuates UVB-induced expression of matrix metalloproteinases via MAP kinase pathway in human dermal fibroblasts. Food Chem Toxicol 2012;50(12):4260-

Mullaicharam B, Kumar MS. Effect of Michelia champaca Linn on pylorous ligated rats. J Appl Pharm Sci 2011;1(2):60-4.

Ahmad H, Sehgal S, Mishra A, Gupta R, Saraf SA. TLC detection of β-sitosterol in Michelia champaca L. leaves and stem bark and it’s determination by HPTLC. Phcog J 2012;(4):45-55.

Parimi U, Kolli D. Antibacterial and free radical scavenging activity of Michelia champaca Linn. flower extracts. Free Rad Antiox 2012;2(2):58-61.

Silva MB, Tencomnao T. The protective effect of some Thai plants and their bioactive compounds in UV light-induced skin carcinogenesis. J Photochem Photobiol 2018;185:80-9.

Yeh YT, Huang JC, Kuo PL, Chen CY. Bioactive constituents from Michelia champaca. Nat Prod Commun. 2011;6(9):1251-2.

Atjanasuppat K, Wongkham W, Meepowpan P, Kittakoop P, Sobhon P, Bartlett A, et al. In vitro screening for anthelmintic and antitumour activity of ethnomedicinal plants from Thailand. J Ethnopharmacol 2009;123(3):475-82.

Noysang C, Mahringer A, Zeino M, Saeed M, Luanratana O, Fricker G, et al. Cytotoxicity and inhibition of P-glycoprotein by selected medicinal plants from Thailand. J Ethnopharmacol. 2014;155(1):633-41.

Sirica AE. Cholangiocarcinoma: molecular targeting strategies for chemoprevention and therapy. Hepatology 2005; 41:5-15.

de Groen PC, Gores GJ, LaRusso NF, Gunderson LL, Nagorney DM. Biliary tract cancers. N Engl J Med 1999;341:1368-78.

Vatanasapt V, Sriamporn S, Vatanasapt P. Cancer control in Thailand. Jpn J Clin Oncol 2002;32 Suppl:S82-S91.

Rattanasinganchan P, Leelawat K, Treepongkaruna SA, Tocharoentanaphol C, Subwongcharoen S, Suthiphongchai T, et al. Establishment and characterization of a cholangiocarcinoma cell line (RMCCA-1) from a Thai patient. World J Gastroenterol 2006;12(40):6500-6.

Molyneux P. The use of the stable free radical diphenylpicrylhydrazyl (DPPH) for estimating antioxidant activity. Songklanakarin J Sci Technol 2004;26(2):211-19.

Ferrari M, Fornasiero MC, Isetta AM. MTT colorimetric assay for testing macrophage cytotoxic activity in vitro. J Immunol Methods 1990;131(2):165-72.

Dinesh K, Kumar S, Taprial S, Kashyap D, Kumar A, Prakash O. A review of chemical and biological profile of genus Michelia. Chin J Integr Med 2012;10(12):1336-41.

Hossain MDM, Jahangir R, Hasan SMR, Akter R, Ahmed T, Islam MDI, et al. Antioxidant, analgesic and Cytotoxic activity of Michelia champaca Linn. leaf. S J Pharm Sci. 2009;2(2):1-7.

Rajshree S, Varma R. Michelia champaca L. (Swarna Champa): a review. IJERSTE 2016;5(8):78-82.

Chen CY, Huang LY, Chen LJ, Lo WL, Kuo SY, Wang YD, et al. Chemical constituents from the leaves of Michelia alba. Chem Nat Compd. 2008;44(1):137-39.

Wei LS, Wee W, Siong JYF, Syamsumir DF. Characterization of antimicrobial, antioxidant, anticancer property and chemical composition of Michelia champaca seed and flower extracts. S J Pharm Sci. 2011;4(1):19-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28